Opensignal เป็นบริษัทผู้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลอิสระที่วิเคราะห์ประสบการณ์ของผู้บริโภคบนมือถือที่มีมาตรฐานระดับโลก รายงานของบริษัทในอุตสาหกรรมนี้สามารถใช้เป็นแนวทางที่ชัดเจนเพื่อเข้าใจประสบการณ์จริงที่ผู้ใช้ได้รับจากเครือข่ายไร้สาย
Opensignal เป็นบริษัทผู้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลอิสระที่วิเคราะห์ประสบการณ์ของผู้บริโภคบนมือถือที่มีมาตรฐานระดับโลก รายงานของบริษัทในอุตสาหกรรมนี้สามารถใช้เป็นแนวทางที่ชัดเจนเพื่อเข้าใจประสบการณ์จริงที่ผู้ใช้ได้รับจากเครือข่ายไร้สาย
AIS คว้าแชมป์ทุกรายการในหมวดหมู่ด้านความเร็วทั้งแบบโดยรวมและ 5G ซึ่งยังคงรั้งแชมป์ใน รางวัลที่ได้รับครั้งก่อนหน้า ประกอบด้วย ด้านความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ความเร็วในการอัปโหลด 5G และประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลดไว้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ AIS ชนะรางวัลด้านความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ไปด้วยคะแนน 156.4 Mbps ซึ่งเร็วกว่า TrueMove H ถึง 55.8% นอกจากนี้ในด้านประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลดซึ่งมีสถิติร่วมกับ TrueMove H ส่งผลให้ทั้งสองเครือข่ายได้รับรางวัลร่วมด้านนี้ร่วมกันด้วยคะแนน 8.2 Mbps.
ในครั้งนี้ TrueMove H คว้าชัยชนะไปครองได้เพียงรางวัลเดียวนั่นคือรางวัลด้านประสบการณ์วิดีโอ ซึ่งชนะไปด้วยคะแนน 42.1 คะแนน มากกว่า DTAC ผู้เป็นอันดับสอง 1.1 คะแนน อย่างไรก็ตาม AIS ยังครองรางวัลด้านประสบการณ์วิดีโอ 5G ติดต่อกันเป็นครั้งที่สองอย่างเหนียวแน่น โดยผู้ใช้งานเครือข่าย AIS และ TrueMove H ต่างเพลิดเพลินไปกับประสบการณ์วิดีโอ 5G ในระดับ ดีมาก (65-75) ขณะที่ผู้ใช้งาน DTAC ได้รับประสบการณ์วิดีโอ 5G อยู่ในระดับรองลงมาคือในระดับดี (55-65)
AIS ยังครองรางวัลด้านเกมและแอปสื่อสารด้วยเสียง ซึ่งได้รับรางวัลทั้งด้านประสบการณ์เกม 5G และประสบการณ์แอปสื่อสารด้วยเสียง 5G โดยชนะติดต่อกันเป็นครั้งที่สอง และในสองรางวัลนี้ เป็นการเฉือนชนะ DTAC ด้วยคะแนนที่มากกว่าเพียง 2.3 และ 1.1 คะแนนตามลำดับ โดยทั้ง AIS และ DTAC ต่างได้รับรางวัลด้านประสบการณ์เกม 5G อยู่ในระดับดี (75-85) และ AIS ยังเป็นผู้ชนะรายเดียวที่ได้รับรางวัลด้านประสบการณ์เกมและประสบการณ์แอปสื่อสารด้วยเสียงในแบบโดยรวม
ในครั้งนี้ Opensignal พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ สำหรับเครือข่ายที่ได้รับรางวัลในหมวดหมู่ความเสถียรนี้ เนื่องจากทั้งสองเครือข่ายเดิมยังเป็นผู้ชนะเป็นครั้งที่สองครั้งติดต่อกันในรายงานของ Opensignal ซึ่ง AIS ได้รับรางวัลคุณภาพความเสถียรยอดเยี่ยมด้วยคะแนน 62.9% สูงกว่าในรายงานครั้งที่แล้ว 2% โดย DTAC ยังคงเป็นเจ้าของรางวัลด้านคุณภาพความเสถียรหลักด้วยคะแนน 87.1% ซึ่งมีคะแนนเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.6% ส่งผลให้เป็นเครือข่ายเดียวที่ได้รับรางวัลนี้ในรอบนี้
จากรายงานครั้งก่อน AIS เป็นผู้ชนะเพียงรายเดียวในด้านความพร้อมใช้งาน 5G และการเข้าถึง 5G อย่างไรก็ตาม ในหนนี้ TrueMove H นั้นกระโดดขึ้นแท่นผู้ชนะรับรางวัลไปทั้ง 2 หมวดหมู่และแบ่งรางวัลร่วมกับ AIS โดยผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งสองคว้ารางวัลชนะร่วมกันในด้านความพร้อมใช้งาน 5G ด้วยคะแนน 22.6-23.2% นั่นหมายความว่าผู้ใช้งานเครือข่ายเหล่านี้เชื่อมต่อบริการ 5G ต่าง ๆ มากกว่า 20% โดย DTAC ตามมาเป็นลำดับที่สาม มีด้วยคะแนนตามหลังผู้ชนะอย่างน้อย 10%
ในรายงานประสบการณ์เครือข่ายมือถือในประเทศไทยครั้งนี้ระบุว่า AIS คือผู้ที่ได้รับรางวัลมากที่สุด โดยเป็นรางวัลที่ชนะเพียงผู้เดียวถึง 9 รางวัลและรางวัลร่วมอีก 4 รางวัล เมื่อเทียบกับรายงานครั้งที่แล้ว. ที่ได้รางวัลชนะเพียงผู้เดียว 11 รางวัลและรางวัลร่วมเพียงรางวัลเดียวเท่านั้น นอกจากนี้ AIS ยังได้รางวัลร่วมกับ TrueMove H ในด้านประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลดอีกด้วย ผู้ใช้ของเราในประเทศไทยเพลิดเพลินไปกับความเร็วในการดาวน์โหลดของเครือข่าย AIS ทั้งในแบบโดยรวมและ 5G ควบคู่ไปกับด้านประสบการณ์เกมและแอปสื่อสารด้วยเสียงที่ดีที่สุด โดยผู้ให้บริการเครือข่ายรายนี้ยังคงรั้งรางวัลด้านประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลด ประสบการณ์วิดีโอ 5G และคุณภาพความเสถียรยอดเยี่ยมแต่เพียงผู้เดียว
อย่างไรก็ตาม TrueMove H ได้รับรางวัลเพิ่มขึ้น 2 รางวัลเมื่อเทียบจากครั้งก่อน โดยมีรางวัลด้านความพร้อมใช้งาน 5G และการเข้าถึง 5G เพิ่มเข้ามาเป็นรางวัลผู้ชนะร่วมกับ AIS ที่เคยเป็นผู้ชนะเพียงรายเดียวในครั้งก่อน ทั้ง TrueMove H และ DTAC ต่างได้รับรางวัลเดี่ยวในครั้งนี้เพียงหนึ่งรางวัล ได้แก่รางวัลด้านประสบการณ์วิดีโอและรางวัลด้านคุณภาพความเสถียรหลักตามลำดับ เช่นเดียวกับในรายงานครั้งที่แล้ว ผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งสามรายเป็นผู้ชนะร่วมกันในรางวัลด้านความพร้อมใช้งาน.
โดยเป็นช่วงเวลาที่ TrueMoveH และ DTAC กำลังดำเนินการแผนการควบรวมกิจการ ของตนเอง ในขั้นต้น สองในสี่คณะอนุกรรมการที่จัดตั้งขึ้นโดยหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทยหรือ กสทช. เพื่อประเมินผลกระทบของการควบรวมกิจการได้มีการโหวตคัดค้าน. แต่ ในภายหลังศาลปกครอง ได้ยกคำร้องคัดค้านด้านข้อบังคับของ กสทช. ปี 2561 ซึ่งอนุญาตให้การควบรวมกิจการที่ไม่ได้รับอนุมัติจากหน่วยงานกำกับดูแล ในเดือนตุลาคม 2565, กสทช. จัดการการควบรวม TrueMove H และ DTAC โดยมีเงื่อนไขด้านต่าง ๆ เช่น เพดานราคา การควบคุมราคา รวมไปถึงการตรวจสอบโครงสร้างต้นทุนและค่าบริการอย่างอิสระเป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี
การควบรวมกิจการระหว่าง DTAC และ TrueMove H อาจเป็นการสร้างคู่แข่งที่แข็งแกร่งและคุกคามต่อความเป็นผู้นำด้าน ประสบการณ์เครือข่ายมือถือในประเทศไทยของ AIS โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนณ ปัจจุบันใน การถือครองสเปกตรัม ระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายหลัก 3 รายในประเทศไทย ในขณะที่ AIS มีแผนเข้าซื้อกิจการของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายหนึ่ง คือTriple T Broadband (3BB) ในราคา 32.4 พันล้านบาท (หรือประมาณ 908 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) เพื่อที่จะได้พัฒนาการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเขตพื้นที่ห่างไกลของประเทศไทย และ กสทช. มีแนวโน้มอนุมัติการเข้าซื้อกิจการภายในไตรมาสที่ 1 ปี 2566
ผลรายงานของเราในครั้งนี้อ้างอิงจากข้อมูลการประเมินที่รวบรวมมาจากผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ทั้งหมดในประเทศไทย ได้แก่ AIS DTAC และ TrueMove H ในระยะเวลา 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ถึง 28 กันยายน 2565 คลิกเพื่อดูวิธีการดำเนินการ
TrueMove H ได้รับชัยชนะด้านประสบการณ์วิดีโออย่างขาดรอย โดยรางวัลนี้เป็นรางวัลเดียวที่ TrueMove H ได้รับโดยไม่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งชนะไปด้วยคะแนน 42.1 คะแนนมากกว่า DTAC อันดับสองอยู่ที่ 1.1 คะแนน และมี AIS ตามหลังมาด้วยคะแนน 37.7 คะแนน โดยทั้ง AIS และ DTAC ได้รับการจัดอันดับในระดับดี (40-55) สำหรับด้านประสบการณ์เกม 5G
ผู้ใช้ 5G ของเราในประเทศไทยได้รับประสบการณ์วิดีโอ ที่ดีขึ้นในการใช้งานโดยรวม และผู้ให้บริการทั้งสามเครือข่ายต่างได้รับการจัดอันดับในระดับดี (55-65) โดยที่ AIS และ TrueMove H มีคะแนนสูงสุดในด้านประสบการณ์วิดีโอจากผู้ใช้ 5G ซึ่งคะแนนในระดับดีนั้นหมายถึง ประสบการณ์การใช้งานที่ยอมรับได้แต่ยังคงมีความไม่สม่ำเสมอของความละเอียดของวิดีโอจากผู้ให้บริการสตรีมมิ่งบางราย โดยเฉพาะวิดีโอความละเอียดสูงที่ยังคงโหลดช้าและกระตุก ครั้งนี้คะแนนในด้านของประสบการณ์วิดีโอของ AIS นั้นมีความต่างสูงสุดจากทุกครั้งที่ผ่านมาคือ 20.5 คะแนน ในขณะที่ TrueMove H และ DTAC นั้นมีคะแนนเพิ่มขึ้นมาจากเดิม 15.9 และ 14.3 คะแนนตามลำดับ
ประสบการณ์วิดีโอจาก Opensignal เป็นการวัดคุณภาพของวิดีโอที่สตรีมในโทรศัพท์มือถือโดยวัดจากการสตรีมวิดีโอจริงทั่วโลกผ่านเครือข่ายของผู้ให้บริการ ระบบการวัดนี้ดำเนินการตามแนวทางของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ซึ่งถูกสร้างขึ้นจากการศึกษาอย่างละเอียดที่มีการรับความสัมพันธ์ระหว่างพารามิเตอร์ทางเทคนิค ประกอบไปด้วย คุณภาพของภาพ เวลาในการโหลดวิดีโอและอัตราการหยุดนิ่งเวลาใช้งาน โดยได้รับข้อมูลมาจากรายงานประสบการณ์ของผู้ใช้จริง ในการคำนวณประสบการณ์วิดีโอ เราได้ทำการวัดการสตรีมวิดีโอโดยตรงจากผู้ใช้ปลายทางและใช้วิธีการของ ITU นี้เพื่อวัดประสบการณ์วิดีโอโดยรวมของผู้ให้บริการแต่ละเครือข่ายเป็นช่วงคะแนนจาก 0-100 การทดสอบวิดีโอนั้นรวมถึงความละเอียดต่าง ๆ ทั้งแบบ Full HD (FHD) และ 4K/ Ultra HD (UHD) รวมถึงการสตรีมโดยตรงจากผู้ให้บริการวิดีโอรายใหญ่ที่สุดในโลก
การวัดที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์วิดีโอดังต่อไปนี้
AIS ยังเป็นผู้ชนะแต่เพียงผู้เดียวในด้านประสบการณ์เกมด้วยคะแนน 69.2 คะแนนจาก 100 คะแนนพร้อมรั้งตำแหน่งผู้ให้บริการเครือข่ายรายเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับ พอใช้ (65-75) สำหรับหมวดหมู่นี้ DTAC คว้าอันดับที่สองไปด้วยคะแนนน้อยกว่าผู้ชนะอันดับที่หนึ่งที่ 5.4 คะแนน ขณะที่ TrueMove H ได้รับรางวัลในอันดับสุดท้ายด้วยคะแนนที่น้อยกว่า AIS 10.7 คะแนน โดยทั้ง DTAC และ TrueMove H นั้นต่างได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับแย่ (40-65)
หากมองในด้านประสบการณ์เกมของผู้ใช้งาน 5G แล้ว AIS ได้คะแนนสูงสุดคือ 73.5 คะแนน - แต่ ผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งหมดในประเทศไทยก็ยังได้รับการจัดอันดับในระดับพอใช้ (65-75) หมายความว่าผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์แบบทั่วไปโดยมีผู้เล่นส่วนใหญ่รายงานว่า พวกเขาพบความหน่วงระหว่างเล่นเกม เทียบกับในด้านประสบการณ์เกม ผู้ให้บริการรายนี้ได้รับคะแนนสูงกว่าผู้ให้บริการรายอื่น ๆด้วยความแตกต่างของระดับคะแนนกับ AIS 4.3 คะแนนและ TrueMove H 10.8 คะแนน
การวัดประสบการณ์เกมจาก Opensignal นั้นวัดประสบการณ์ของผู้ใช้อุปกรณ์มือถือจากการเล่นเกมมือถือแบบเรียลไทม์มัลติเพลเยอร์บนเครือข่ายของผู้ให้บริการ โดยวัดเป็นช่วงคะแนน 0-100 เป็นการวิเคราะห์ประสบการณ์เกมมือถือแบบมัลติเพลเยอร์ที่ผู้ใช้ได้รับจากสภาพของเครือข่ายมือถือว่าเป็นอย่างไร รวมถึงเวลาแฝงของเครือข่าย การสูญเสียแพ็กเก็ตข้อมูล และค่าแปรผันของเวลา
ประสบการณ์เกมนั้นจะวัดค่าประสบการณ์ในขณะที่ผู้เล่นเล่นเกมมือถือแบบเรียลไทม์มัลติเพลเยอร์โดยใช้อุปกรณ์มือถือเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ที่มีอยู่ทั่วโลก แนวคิดนี้เกิดจากการศึกษาวิจัยเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน เพื่อใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างพารามิเตอร์ทางเทคนิคของเครือข่ายและประสบการณ์การเล่นเกมจากการรายงานของผู้ใช้มือถือจริง ซึ่งพารามิเตอร์เหล่านี้หมายความรวมถึง ประสบการณ์เวลาแฝงของเครือข่าย (เวลาตามรอบ) ค่าแปรผันของเวลา (ความแปรปรวนของเวลาแฝงในเครือข่าย) และการสูญเสียแพ็กเก็ต (สัดส่วนของแพ็กเก็ตข้อมูลที่ไปไม่ถึงปลายทาง) นอกจากนี้ ยังพิจารณาจากเกมมือถือแบบมัลติเพลเยอร์หลากหลาย ประเภท เพื่อวัดค่าความไวเฉลี่ยที่มีต่อสภาพเครือข่าย โดยเกมที่ทดสอบหมายความรวมถึงเกมมือถือแบบเรียลไทม์มัลติเพลเยอร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดบางเกม (เช่น Fortnite, Pro Evolution Soccer และ Arena of Valor) ที่เล่นกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก
การคำนวณประสบการณ์เกมเริ่มต้นด้วยการวัดประสบการณ์แบบ end-to-end จากอุปกรณ์ของผู้ใช้ไปจนถึงจุดปลายทางของอินเทอร์เน็ตที่เป็นโฮสต์จริงของเกม ช่วงคะแนนที่ใช้วัดตั้งแต่ 0-100
นอกจากนี้ เรายังจัดทำรายงานตามค่าการวัดที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์เกม ดังต่อไปนี้
AIS ยังเป็นผู้ชนะรางวัลด้านประสบการณ์แอปสื่อสารด้วยเสียง ด้วยคะแนน 78.8 จากเต็ม 100 คะแนน นำหน้าอันดับสองอย่าง DTAC อยู่ 2.4 คะแนน ขณะที่ TrueMove H รั้งท้ายด้วยคะแนน 73.8 คะแนน ซึ่งแพ้ผู้ชนะไปเพียง 5 คะแนนเท่านั้น ทั้ง AIS และ DTAC นั้นได้รับการจัดอยู่ในระดับยอมรับได้ (74-80),ขณะที่ TrueMove H นั้นอยู่ในระดับที่รองลงมา คือ ในระดับแย่ (66-74)
ผู้ใช้ 5G ของเราได้รับประสบการณ์การใช้แอปสื่อสารด้วยเสียงโดยรวมเฉลี่ยดีกว่าผู้ใช้ทั้งหมดของเรา ตามที่ผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งหมดในประเทศไทยได้รับการจัดอันดับด้านประสบการณ์แอปสื่อสารด้วยเสียงของผู้ใช้ 5G สูงกว่าประสบการณ์แอปสื่อสารด้วยเสียง ซึ่ง AIS และ DTAC ได้รับการจัดอันดับในระดับดี (80-87) นั่นหมายความว่า ผู้ใช้งานส่วนใหญ่ได้รับความพึงพอใจแต่ยังประสบปัญหาด้านคุณภาพเล็ก ๆ น้อย ๆ ขณะที่ TrueMove H ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับ ยอมรับได้ (74-80) พร้อมส่วนต่างคะแนนสูงสุดที่ 5.5 คะแนน ระหว่างประสบการณ์แอปสื่อสารด้วยเสียงของผู้ใช้ 5G และประสบการณ์แอปสื่อสารด้วยเสียง ตามมาด้วย DTAC (3.8 คะแนน) และ AIS (2 คะแนน)
ประสบการณ์แอปพลิเคชั่นเสียงจาก Opensignal นั้นวัดผลคุณภาพประสบการณ์จากบริการเสียงแบบ over-the-top (OTT) กล่าวคือแอปสื่อสารด้วยเสียงในมือถือ เช่น WhatsApp, Skype และ Facebook Messenger โดยใช้โมเดลของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) คำนวณคุณภาพการโทรด้วยเสียงโดยรวมในเชิงปริมาณ ด้วยชุดพารามิเตอร์ทางเทคนิคที่ปรับเทียบแล้ว โมเดลนี้แสดงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการวัดทางเทคนิคและคุณภาพการโทรที่รับรู้และมองเห็นได้ ประสบการณ์แอปพลิเคชั่นเสียงของผู้ให้บริการมือถือแต่ละรายคำนวณเป็นช่วงคะแนนตั้งแต่ 0-100
นอกจากนี้ เรายังทำรายงานตามค่าการวัดที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์แอปพลิเคชั่นเสียงดังต่อไปนี้:
ผู้ใช้งานของเราได้รับประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลดโดยรวมที่เร็วที่สุดบนเครือข่าย AIS โดยคว้าชัยชนะในหมวดหมู่นี้ได้ด้วยความเร็วที่ 17.6 Mbps และเหนือกว่า TrueMove H อันดับสองที่ 1.2 Mbps ผู้ใช้ AIS และ TrueMove H ของเราพบว่าความเร็วเฉลี่ยในการดาวน์โหลดโดยรวมลดลง 1.9 และ 1.3 Mbps ตามลำดับ โดย DTAC อยู่ในเป็นอันดับสุดท้ายด้วยความเร็ว 11.3 Mbps ซึ่งนับว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากรายงานครั้งก่อน
เมื่อดูที่ค่าเฉลี่ยความเร็วในการดาวน์โหลดโดยรวมที่ผู้ใช้งาน 5G ของเราได้รับ พบว่าความเร็วในการดาวน์โหลด 5G นั้นเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับความเร็วโดยรวมที่ผู้ใช้งานทั่วไปพบเห็น โดยผู้ใช้ AIS 5G ของเรามีความพึงพอใจที่ได้สัมผัสความเร็วในการดาวน์โหลดเฉลี่ยโดยรวมที่เร็วมากขึ้น 3.6 เท่า อยู่ที่ 63 Mbps โดยมี TrueMove H ตามมาติด ๆ ที่ 2.7 เท่า (43.6 Mbps) และ DTAC ที่มีความเร็วเพิ่มขึ้น 2.2 เท่า (25 Mbps)
วัดค่าเป็น Mbps ประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลดนั้นจะแสดงถึงค่าความเร็วทั่วไปในทุกๆวันที่ผู้ใช้งานได้รับผ่านการใช้ข้อมูลบนเครือข่ายมือถือของผู้ให้บริการ
นอกจากนี้ เรายังจัดทำรายงานตามค่าการวัดที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลดดังต่อไปนี้:
จาก รายงานครั้งที่แล้ว, TrueMove H เป็นผู้ชนะรางวัลด้านประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลดแต่เพียงผู้เดียว อย่างไรก็ตาม สำหรับรางวัลนี้ AIS ตามประชิด TrueMove H มาติด ๆ ในทางสถิติ หลังจากที่ผู้ใช้ AIS พบว่าค่าความเร็วเฉลี่ยในการอัปโหลดนั้นเพิ่มขึ้น 0.3 Mbps เมื่อเทียบกับค่าความเร็วที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 0.1 Mbps บนเครือข่าย TrueMove H เป็นผลให้ผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งสองรายรับรางวัลร่วมกันด้วยความเร็ว 8.2 Mbps ส่วน DTAC นั้นตามหลังมาด้วยความเร็ว 4.1 Mbps ซึ่งเป็นความเร็วเพียงครึ่งเดียวที่ผู้ใช้ของเราพบในเครือข่ายของผู้ที่ได้รับรางวัล
ขณะที่ AIS และ TrueMove H รับรางวัลร่วมด้านประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลดนั้น คะแนนของ AIS นั้นยังคงอยู่ในระดับสูงกว่ารายอื่น ๆ ในด้านประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลดของผู้ใช้ 5G โดยผู้ใช้ AIS 5G เพลิดเพลินไปกับความเร็วในการอัปโหลดโดยรวมเฉลี่ยที่ 15.5 Mbps ซึ่งเร็วกว่าของ TrueMove H ที่ 13 Mbps หรือเกือบ 20% โดยผู้ใช้งาน 5G ของเราได้เห็นว่าค่าความเร็วในการอัปโหลดเฉลี่ยโดยรวมนั้นเพิ่มขึ้น โดย DTAC เพิ่มเป็น 57.3% และ AIS เพิ่มเป็น 88.8%
ประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลดนั้นวัดความเร็วในการอัปโหลดเฉลี่ยของแต่ละเครือข่ายที่ผู้ใช้งานได้รับ โดยทั่วไปแล้ว ความเร็วในการอัปโหลดนั้นจะต่ำกว่าความเร็วในการดาวน์โหลด ด้วยเทคโนโลยีบรอดแบนด์บนมือถือในปัจจุบันได้มุ่งเน้นไปที่ทรัพยากรเพื่อมอบความเร็วสูงสุดในการดาวน์โหลดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่ใช้รับชมเนื้อหาบนอุปกรณ์ของตนเอง แต่เนื่องด้วยความนิยมในการใช้อินเทอร์เน็ตมือถือเปลี่ยนจากการดาวน์โหลดเนื้อหาไปเป็นการสร้างเนื้อหาพร้อมทั้งต้องรองรับบริการการสื่อสารแบบเรียลไทม์ด้วยแล้วนั้น ความเร็วในการอัปโหลดจึงกลายมาเป็นสิ่งที่น่าจับตามอง อีกทั้งเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ที่ต้องการพื้นที่ในการจัดเก็บมากขึ้น
นอกจากนี้ เรายังจัดทำรายงานตามค่าการวัด 5 ตัวที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลดดังต่อไปนี้:
AIS ครองรางวัลระดับภูมิภาคด้านประสบการณ์โดยรวมแต่เพียงผู้เดียวไปถึง 22 รางวัล และรับรางวัลร่วม 4 รางวัลจากทั้งหมด 35 รางวัลในเจ็ดภูมิภาคของประเทศไทย TrueMove H นั้นยังคงรักษารางวัลระดับภูมิภาคไว้ได้ 6 รางวัลและรางวัลร่วมอีก 6 รางวัล โดยส่วนใหญ่เป็นรางวัลในหมวดประสบการณ์วิดีโอ ในขณะที่ฝั่ง DTAC ได้รับรางวัลชนะรางวัลเดียวและได้รับรางวัลร่วมอีก 2 รางวัลในหมวดประสบการณ์วิดีโอทั้งหมด และ AIS กวาดรางวัลด้านประสบการณ์เกมและประสบการณ์แอปสื่อสารด้วยเสียงในทุกภูมิภาค ผู้ใช้งานเครือข่าย AIS ของเราในเขตกรุงเทพมหานครได้รับประสบการณ์เกมและแอปสื่อสารด้วยเสียงระดับดีเยี่ยมด้วยคะแนน 75.3 และ 80.1 คะแนนตามลำดับ กรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่เดียวที่เราเห็นว่าประสบการณ์เกมโดยรวมอยู่ในระดับดี (75-85)และประสบการณ์แอปสื่อสารด้วยเสียงอยู่ในระดับดี (80-87)
ในระดับภูมิภาค ผู้ใช้งานของเราได้รับความพึงพอใจในความเร็วโดยรวมสูงสุดในพื้นที่กรุงเทพมหานครบนเครือข่าย AIS ที่มีความเร็วในการดาวน์โหลดอยู่ที่ 25.1 Mbps และความเร็วในการอัปโหลดที่ 11.8 Mbps อย่างไรก็ตาม รางวัลในด้านความเร็วระดับภูมิภาคไม่ได้กระจุกตัวอยู่กับผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่ง ต่างจากรางวัลด้านประสบการณ์เกมและประสบการณ์แอปสื่อสารด้วยเสียง ซึ่ง AIS คว้ารางวัลด้านประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลดไปทั้งหมด 5 รางวัลและด้านประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลดอีก 3 รางวัล ขณะที่ TrueMove H ชนะรางวัลด้านประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลดแต่เพียงผู้เดียวในเขตภาคใต้ด้วยคะแนน 15.5 Mbps และรางวัลด้านประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลดในเขตภาคตะวันตกด้วยคะแนน 8.3 Mbps. ส่วน AIS และ TrueMove H นั้นในทางสถิติแล้วเสมอกันโดยได้รับรางวัลร่วมกันในด้านความเร็วโดยรวมในเขตภาคตะวันออก นอกจากนี้ ผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งสองรายนี้ยังได้รับรางวัลร่วมกันในด้านประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลดในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
TrueMove H คว้ารางวัลชนะเลิศถึง 4 ภูมิภาค (กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้) รวมทั้งรับรางวัลร่วมกับ DTAC อีก 2 รางวัลในด้านประสบการณ์วิดีโออีกด้วย ส่วน DTAC ประกาศชัยชนะแต่เพียงผู้เดียวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยในเขตกรุงเทพมหานคร ผู้ใช้งานของเราได้รับประสบการณ์ประสบการณ์วิดีโอที่ดีเยี่ยมจาก TrueMove H ด้วยคะแนน 49.9 คะแนนจาก 100
AIS ยังเป็นผู้นำประสบการณ์วิดีโอ 5G ด้วยคะแนน 72.2 คะแนน โดยชนะขาดรอยสองครั้งติดต่อกัน และ AIS มีคะแนนนำ TrueMove H อันดับสองอยู่ที่ 4.5 คะแนน
บริการ 5G สามารถปรับปรุงประสบการณ์เครือข่ายมือถือของผู้ใช้ได้เป็นอย่างมาก ตามที่ ผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทยทุกรายต่างได้รับคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างน่าประทับใจเมื่อเทียบกับด้านประสบการณ์วิดีโอ ทำให้ผู้ให้บริการทั้งหมดได้รับการจัดอันดับสูงขึ้นกว่าที่เคยได้รับมาในหมวดหมู่ประสบการณ์วิดีโอ ซึ่ง AIS มีพัฒนาการอย่างน่าประทับใจ และได้รับคะแนนด้านประสบการณ์วิดีโอ 5G สูงขึ้น 34.4 คะแนน มากกว่าผลคะแนนของประสบการณ์วิดีโอของตนเอง ทำให้ AIS ได้รับการจัดอันดับสูงขึ้นในสามหมวดหมู่นี้จากระดับแย่ (ต่ำว่า 40) เป็นดีมาก (65-75) ประสบการณ์วิดีโอ 5G ในระดับดีมากหมายความว่า เวลาในการโหลดโดยทั่วไปมีความรวดเร็วและอาจพบการกระตุกเป็นครั้งคราวเท่านั้น โดยประสบการณ์การใช้งานอาจไม่สอดคล้องกันระหว่างผู้ใช้และ/หรือผู้ให้บริการวิดีโอ/ความละเอียดของวิดีโอ
TrueMove H ได้รับการจัดอันดับสูงขึ้นสองระดับจากพอใช้ (40-55) ในด้านประสบการณ์วิดีโอเป็นระดับดีมาก (65-75) ในด้านประสบการณ์วิดีโอ 5G ด้วยคะแนนที่เพิ่มขึ้น 25.6 คะแนน ขณะเดียวกันคะแนนของ DTAC ที่เพิ่มขึ้น 23.6 คะแนนก็ทำให้ระดับคะแนนถูกปรับขึ้นจากพอใช้ (40-55) ในหมวดหมู่ประสบการณ์วิดีโอ เป็นระดับดี (55-65) ในหมวดหมู่ประสบการณ์วิดีโอ 5G
เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเมื่อเชื่อมต่อบริการ 5G ผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทยนั้นมีการพัฒนาการให้บริการวิดีโอไปในทางที่ดีขึ้นอย่างมาก ในรายงานรางวัลด้านประสบการณ์เครือข่าย 5G ระดับโลกประจำปี 2565 ผู้ให้บริการเครือข่ายไร้สายของประเทศไทยทั้งสามรายได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ให้บริการที่มีประสิทธิภาพระดับโลกในหมวดประสบการณ์วิดีโอ ซึ่งทำให้เห็นถึงพัฒนาการสูงสุดด้าน 5G และ 4G ของผู้ให้บริการเครือข่าย โดย AIS ครองอันดับที่สอง รองจาก Globe ของฟิลิปปินส์
ประสบการณ์วิดีโอ 5G วัดคุณภาพของวิดีโอบนมือถือที่ผู้ใช้ของ Opensignal ได้รับจากการสตรีมวิดีโอตามความเป็นจริงเมื่อเชื่อมต่อกับ 5G ระบบการวัดนี้ดำเนินการตามแนวทางของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ซึ่งถูกสร้างขึ้นจากการศึกษาอย่างละเอียดที่มีการรับความสัมพันธ์ระหว่างพารามิเตอร์ทางเทคนิค ประกอบไปด้วยคุณภาพของภาพ เวลาในการโหลดวิดีโอและอัตราการหยุดนิ่งเวลาใช้งานโดยได้รับข้อมูลมาจากรายงานประสบการณ์ของผู้ใช้จริง ในการคำนวณประสบการณ์วิดีโอ 5G เราได้ทำการวัดการสตรีมวิดีโอโดยตรงจากผู้ใช้ปลายทางและใช้วิธีของ ITU นี้เพื่อวัดประสบการณ์วิดีโอจากผู้ใช้งานจริงบนแต่ละเครือข่ายของผู้ให้บริการ 5G เป็นช่วงคะแนนจาก 0-100 การทดสอบวิดีโอนั้นรวมถึงความละเอียดต่าง ๆ ทั้งแบบ Full HD (FHD) และ 4K/ Ultra HD (UHD) รวมถึงการสตรีมโดยตรงจากผู้ให้บริการวิดีโอรายใหญ่ที่สุดในโลก
AIS คว้าชัยชนะในด้านประสบการณ์เกมบนเครือข่าย 5G ไปสองครั้งติดต่อกันด้วยคะแนน 79.5 คะแนนจาก 100 คะแนนเต็ม และเฉือนเอาชนะ DTAC ไปด้วยส่วนต่างเพียง 2.3 คะแนน ซึ่งทั้ง AIS และ DTAC ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับดี (75-85) ในด้านประสบการณ์เกม 5G หมายความว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ได้รับประสบการณ์ที่ยอมรับได้และไม่พบความล่าช้าระหว่างการเล่นเกม ขณะที่ TrueMove H ได้รับการประเมินอยู่ในระดับพอใช้ (65-75) ตกจากระดับดี (75-85) ด้วยคะแนนที่ลดลง 2.8 คะแนนจากรายงานครั้งที่แล้ว
หากเปรียบเทียบคะแนนในด้านประสบการณ์เกมนั้น จะพบว่าคะแนนของผู้ให้บริการเครือข่ายด้านประสบการณ์เกมบนเครือข่าย 5G ในประเทศไทยนั้นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดย AIS มี 10.3 คะแนน ส่วน DTAC เพิ่มเป็น 13.4 และ TrueMove H เป็น 16.3 คะแนน Opensignal ให้การยอมรับว่า DTAC และ TrueMove H เป็นผู้ให้บริการที่มีประสิทธิภาพระดับโลกในด้านประสบการณ์เกม (เทียบ 5G และ 4G) ตามรายงานรางวัลประสบการณ์เครือข่ายมือถือ 5G ระดับโลกประจำปี 2565 .
การวัดประสบการณ์เกม 5G นั้นวัดผลประสบการณ์ของผู้ใช้อุปกรณ์มือถือในการเล่นเกมมือถือแบบเรียลไทม์มัลติเพลเยอร์บนเครือข่ายของผู้ให้บริการ 5G สิ่งนี้วิเคราะห์ประสบการณ์เกมมือถือแบบมัลติเพลเยอร์ที่ผู้ใช้ได้รับผลกระทบจากสภาพของเครือข่ายมือถือว่าเป็นอย่างไรบ้าง รวมถึงประสบการณ์เวลาแฝงของเครือข่าย การสูญเสียแพ็กเก็ตข้อมูล และค่าแปรผันของเวลา ประสบการณ์เกมมือถือ 5G ของผู้ให้บริการแต่ละรายมีการคำนวณค่าตั้งแต่ 0-100
ประสบการณ์เกม 5G นั้นจะวัดค่าประสบการณ์ในขณะที่ผู้เล่นเล่นเกมมือถือแบบเรียลไทม์มัลติเพลเยอร์โดยใช้อุปกรณ์มือถือเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ที่มีอยู่ทั่วโลก แนวคิดนี้เกิดจากการศึกษาวิจัยเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน เพื่อใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างพารามิเตอร์ทางเทคนิคของเครือข่ายและประสบการณ์การเล่นเกมจากรายงานของผู้ใช้มือถือจริง พารามิเตอร์เหล่านี้หมายความรวมถึงประสบการณ์เวลาแฝงของเครือข่าย (เวลาตามรอบ) ค่าแปรผันของเวลา (ความแปรปรวนของเวลาแฝงในเครือข่าย) และการสูญเสียแพ็กเก็ต (สัดส่วนของแพ็กเก็ตข้อมูลที่ไปไม่ถึงปลายทาง) นอกจากนี้ ยังพิจารณาเกมมือถือแบบมัลติเพลเยอร์หลากหลายประเภท เพื่อวัดค่าความไวเฉลี่ยที่มีต่อสภาพเครือข่าย โดยเกมที่ทดสอบหมายความรวมถึงเกมมือถือมัลติเพลเยอร์แบบเรียลไทม์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดบางเกม (เช่น Fortnite, Pro Evolution Soccer และ Arena of Valor) ที่เล่นกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก การคำนวณประสบการณ์เกม 5G เริ่มต้นด้วยการวัดประสบการณ์แบบ end-to-end จากอุปกรณ์ของผู้ใช้ไปจนถึงจุดปลายทางของอินเทอร์เน็ตที่เป็นโฮสต์จริงของเกม
AIS ยังคงป้องกันแชมป์ในด้านประสบการณ์แอปสื่อสารด้วยเสียงบนเครือข่าย 5G ไว้ได้ด้วยการคว้ารางวัลติดต่อกันเป็นครั้งที่สอง AIS ชนะไปด้วยคะแนน 82.7 คะแนนนำ DTAC อยู่ 1.1 คะแนน และ TrueMove H รั้งท้ายด้วยคะแนน 80.9 คะแนน เมื่อเชื่อมต่อ 5G ผู้ใช้งานของเราบนเครือข่ายทั้งสามรายมีความเพลิดเพลินกับประสบการณ์ใช้งานในส่วนของบริการแอปสื่อสารด้วยเสียงในระดับดี (80-87) ซึ่งหมายถึง ผู้ใช้ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจแต่ยังคงได้รับประสบการณ์ติดขัดด้านคุณภาพเล็ก ๆ น้อย ๆ อยู่บ้าง
ประสบการณ์แอปพลิเคชั่นเสียง 5G นั้นวัดจากประสบการณ์ที่ผู้ใช้ของ Opensignal ได้รับเมื่อใช้งานแอปสื่อสารด้วยเสียง เช่น WhatsApp, Skype และ Facebook Messenger บนเครือข่ายสัญญาณ 5G ของผู้ให้บริการ ใช้โมเดลของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) คำนวณคุณภาพการโทรด้วยเสียงโดยรวมในเชิงปริมาณ ด้วยชุดพารามิเตอร์ทางเทคนิคที่ปรับเทียบแล้ว โมเดลนี้แสดงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการวัดทางเทคนิคและคุณภาพการโทรที่รับรู้และมองเห็นได้ ประสบการณ์แอปพลิเคชั่นเสียง 5G ของผู้ให้บริการมือถือแต่ละรายคำนวณเป็นช่วงคะแนนตั้งแต่ 0-100
AIS ครองตำแหน่งผู้นำความเร็วในการดาวน์โหลดบนเครือข่าย 5G เนื่องด้วยเป็นผู้ให้บริการเพียงรายเดียวที่ชนะรางวัลด้านนี้ถึงสามครั้งติดต่อกันนับตั้งแต่ Opensignal ได้เพิ่มรางวัลนี้ เข้ามาในรายงานประสบการณ์เครือข่ายมือถือในประเทศไทย AIS คว้ารางวัลความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ไปด้วยความเร็ว 156.4 Mbps ซึ่งเร็วกว่า TrueMove H ถึง 55.8% ส่วน DTAC อยู่อันดับท้ายด้วยความเร็ว 29.4 Mbps ซึ่งน้อยกว่าหนึ่งในห้าของความเร็วของ AIS
เปรียบเทียบกับประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลด ผู้ใช้ของเราพบว่าความเร็วในการดาวน์โหลด 5G เฉลี่ยนั้นสูงขึ้นโดย AIS เร็วขึ้น 8.9 เท่า ส่วน TrueMove H นั้นเร็วขึ้น 6.1 เท่า Opensignal ให้การยอมรับว่าผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งสองรายนี้มีการให้บริการที่เป็นระดับโลกในด้านความเร็วในการดาวน์โหลดสำหรับรายงานรางวัลด้านประสบการณ์เครือข่ายมือถือ 5G ระดับโลกประจำปี 2565 เมื่อเทียบกับคู่แข่งแล้ว สัญญาณ 5G ของ DTAC โดยรวมนั้นยังไม่น่าพึงพอใจเท่าที่ควร โดยผู้ใช้งาน DTAC ของเรามองว่าความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ของ DTAC นั้นเร็วกว่าประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลดถึง 2.6 เท่า
ความเร็วในการดาวน์โหลด 5G แสดงประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลดโดยเฉลี่ยที่ผู้ใช้ Opensignal ได้รับบนอุปกรณ์ 5G บนเครือข่ายของผู้ให้บริการ ความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ของผู้ให้บริการแต่ละรายนั้นจะคำนวณเป็น Mbps (เมกะบิตต่อวินาที)
AIS ยังคงครองแชมป์ด้านความเร็วในการอัปโหลดบนเครือข่าย 5G อย่างเหนียวแน่นนับตั้งแต่ Opensignal ได้เพิ่มรางวัลนี้ ในรายงานประสบการณ์เครือข่ายมือถือในประเทศไทย AIS ประกาศความเป็นเลิศด้านการให้บริการด้วยความเร็ว 25.5 Mbps ส่วน TrueMove H มาเป็นที่สองด้วยส่วนต่างจากอันดับหนึ่ง 4.6 Mbps
ในขณะที่ DTAC รั้งท้ายด้วยความเร็ว 16.5 Mbps น้อยกว่าอันดับหนึ่งอย่าง AIS อยู่ 9 Mbps ซึ่งทำให้เห็นได้ถึงพัฒนาการความเร็วสูงสุดในการอัปโหลด 5G จนถึงด้านประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลดโดยรวมจากผู้ให้บริการทั้งหมดในประเทศไทย ระดับสี่เท่า จาก AIS (3.1 เท่า) ตามมาด้วย TrueMove H (2.5 เท่า) เป็นที่น่าสังเกตุว่า DTAC ได้รับอันดับที่สามของโลกในการจัดอันดับผู้ให้บริการที่มีประสิทธิภาพระดับโลกในด้านความเร็วในการอัปโหลดในรายงานรางวัลประสบการณ์เครือข่ายมือถือ 5G ระดับโลกประจำปี 2565 จาก Opensignal ซึ่งมี AIS รวมอยู่ด้วย
ความเร็วในการอัปโหลด 5G แสดงประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลดโดยเฉลี่ยที่ผู้ใช้ Opensignal ได้รับบนอุปกรณ์ 5G บนเครือข่ายของผู้ให้บริการ ความเร็วในการอัปโหลด 5G ของผู้ให้บริการแต่ละรายนั้นจะคำนวณเป็น Mbps (เมกะบิตต่อวินาที)
AIS ชนะทุกรางวัลในหมวดหมู่ 5G รวมทั้งหมด 17 รางวัลและชนะรางวัลร่วมอีก 8 รายการ และชนะในทุกภูมิภาคของประเทศไทยในด้านความเร็วในการดาวน์โหลด 5G และความเร็วในการอัปโหลด 5G และผู้ใช้งาน AIS ของเราได้รับความเร็วในการดาวน์โหลด 5G โดยเฉลี่ยสูงสุดในพื้นที่กรุงเทพมหานครด้วยความเร็ว 182.2 Mbps. และ Opensignal ยังได้บันทึกความเร็วเฉลี่ยในการอัปโหลด 5G สูงสุดในระดับภูมิภาคจากอุปกรณ์ของผู้ใช้งาน AIS ในเขตกรุงเทพมหานครไว้ที่ 29.8 Mbps.
ในรายงานครั้งที่แล้วAIS ได้ชัยชนะไปถึง 24 รางวัลโดยมีรางวัลร่วมเพียงรางวัลเดียวกับ DTAC ในหมวดหมู่ประสบการณ์แอปสื่อสารด้วยเสียง 5G ในภาคใต้ และครั้งนี้ DTAC ชนะรางวัลร่วมด้าน 5G อีก 4 รางวัล นั่นคือประสบการณ์เกม 5G หนึ่ง รางวัลและประสบการณ์แอปสื่อสารด้วยเสียง 5G สามรางวัล ด้วยเหตุนี้ทำให้ AIS ได้เพียงรางวัลเดียวในเขตภาคใต้คือด้านประสบการณ์เกม 5G ส่วนในเขตกรุงเทพมหานครและภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น AIS ได้รับรางวัลด้านประสบการณ์แอปสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่าย 5G ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น TrueMove H ได้รับรางวัลด้านประสบการณ์วิดีโอ 5G เพียงรางวัลเดียว เนื่องจากเหตุผลทางสถิติเมื่อเทียบกับ AIS และ DTAC ส่วน AIS นั้นเป็นผู้คว้ารางวัลระดับภูมิภาคที่เหลืออีก 4 รางวัลในหมวดหมู่ไปครอง
ผู้ให้บริการเครือข่ายระดับชาติทั้งสามของไทย ได้แก่ AIS, DTAC และ TrueMove H ชนะรางวัลร่วมกันในด้านความพร้อมในการใช้งานด้วยคะแนน 99.1% ซึ่งผลลัพธ์นี้หมายความว่าผู้ใช้งานของเราในประเทศไทยเชื่อมต่อ 3G, 4G หรือ 5G มากกว่า 99% ของช่วงเวลา เช่นเดียวกับใน รายงานครั้งที่แล้ว, หมวดหมู่นี้เป็นหมวดเดียวที่ผู้ให้บริการเครือข่ายของไทยทุกรายได้รับรางวัลร่วมกัน
ความพร้อมใช้งานไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความครอบคลุมหรือขอบเขตพื้นที่ให้บริการของเครือข่าย ไม่ได้บ่งชี้ว่าสถานที่ที่คุณวางแผนจะเดินทางไปนั้นมีสัญญาณหรืออับสัญญาณ ทว่า เป็นการวัดช่วงเวลาที่ผู้คนทำการเชื่อมต่อกับเครือข่ายในสถานที่ที่พวกเขาเดินทางไปบ่อย ๆ รวมถึงวัดสิ่งที่การวัดค่าแบบเดิมไม่สามารถวัดได้ โดยดูช่วงเวลาที่ผู้ใช้ทำการเชื่อมต่อมากกว่าสถานที่ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การใช้งานจริงของผู้ใช้ได้อย่างแม่นยำ
นอกจากนี้ ยังมีการติดตามกลุ่มตัวอย่างที่ทำให้ผู้ใช้งานมือถือเกิดความหงุดหงิดรำคาญใจ ได้แก่ เมื่อไม่พบสัญญาณที่จะต้องทำการเชื่อมต่อ และพื้นที่อับสัญญาณที่ผู้ใช้มักประสบปัญหานั้นก็คือ พื้นที่ภายในอาคาร ซึ่งความพร้อมใช้งานข้อมูลที่สูงที่สุดนั้นก็อยู่ภายในอาคารเช่นเดียวกัน (เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ผู้ใช้ใช้เวลาอยู่มากที่สุดเป็นปกติ) และเราก็เป็นผู้เชี่ยวชาญในการค้นหาพื้นที่อับสัญญาณ
ตัววัดความพร้อมใช้งานของเราใช้แนวทางที่เน้นผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลางและอิงตามเวลา ซึ่งส่งเสริมวิธีการใช้ตัวชี้วัดการเข้าถึงที่ยึดผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลางพร้อมอิงข้อมูลตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์
ความพร้อมใช้งานจะแสดงสัดส่วนของเวลาที่ผู้ใช้งานของ Opensignal ทุกคนได้มีการใช้งาน 3G, 4G หรือ 5G บนเครือข่ายของผู้ให้บริการ
ในรายงานครั้งที่แล้ว AIS ชนะรางวัลความพร้อมใช้งาน 5G แต่เพียงผู้เดียว แต่ในครั้งนี้ต้องครองรางวัลร่วมกับ TrueMove H อันเนื่องมาจากคะแนนของ AIS ตกลง 1.5 จุดเปอร์เซ็นต์จากรายงานครั้งก่อน ขณะที่ TrueMove H นั้นมีคะแนนเพิ่มขึ้น 1.8 จุดเปอร์เซ็นต์ ผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งสองรายได้รับรางวัลความพร้อมใช้งาน 5G ร่วมกันไปด้วยคะแนน 22.6-23.2% ซึ่งหมายถึงผู้ใช้ของเราได้ใช้เวลาเชื่อมต่อบริการ 5G ผ่านเครือข่ายเหล่านี้มากกว่า 20% ของเวลาทั้งหมด DTAC ตามมาเป็นลำดับที่ 3 ด้วยคะแนน 12.6% ซึ่งต่ำว่าผู้ชนะไม่น้อยกว่า 10 จุดเปอร์เซ็นต์ ถึงแม้ว่าจะได้คะแนนเพิ่มมากที่สุดในกลุ่มผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งสามอยู่ที่ 3.4 จุดก็ตาม
ในรายงานรางวัลด้านประสบการณ์เครือข่ายมือถือ 5G ระดับโลกประจำปี 2565 DTAC ได้รับตำแหน่งดาวรุ่งในหมวดหมู่ความพร้อมใช้งาน 5G ในฐานะผู้ให้บริการเครือข่ายที่มีการพัฒนาสูงสุดแห่งปีถึง 478.9% ในรายงานฉบับเดียวกัน Opensignal ให้การยอมรับ AIS และ TrueMove H ในฐานะผู้ให้บริการประสิทธิภาพสูงระดับโลก )Global High Performers) ในด้านความพร้อมใช้งาน 5G
ความพร้อมใช้งานไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความครอบคลุมหรือขอบเขตพื้นที่ให้บริการของเครือข่าย ไม่ได้บ่งชี้ว่าสถานที่ที่คุณวางแผนจะเดินทางไปนั้นมีสัญญาณหรืออับสัญญาณ ทว่า เป็นการวัดช่วงเวลาที่ผู้คนทำการเชื่อมต่อกับเครือข่ายในสถานที่ที่พวกเขาเดินทางไปบ่อย ๆ รวมถึงวัดสิ่งที่การวัดค่าแบบเดิมไม่สามารถวัดได้ โดยดูช่วงเวลาที่ผู้ใช้ทำการเชื่อมต่อมากกว่าสถานที่ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การใช้งานจริงของผู้ใช้ได้อย่างแม่นยำ
นอกจากนี้ ยังมีการติดตามกลุ่มตัวอย่างที่ทำให้ผู้ใช้งานมือถือเกิดความหงุดหงิดรำคาญใจ ได้แก่ เมื่อไม่พบสัญญาณที่จะต้องทำการเชื่อมต่อ และพื้นที่อับสัญญาณที่ผู้ใช้มักประสบปัญหานั้นก็คือ พื้นที่ภายในอาคาร ซึ่งความพร้อมใช้งานข้อมูลที่สูงที่สุดนั้นก็อยู่ภายในอาคารเช่นเดียวกัน (เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ผู้ใช้ใช้เวลาอยู่มากที่สุดเป็นปกติ) และเราก็เป็นผู้เชี่ยวชาญในการค้นหาพื้นที่อับสัญญาณ
ตัววัดความพร้อมใช้งานของเราใช้แนวทางที่เน้นผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลางและอิงตามเวลา ซึ่งส่งเสริมวิธีการใช้ตัวชี้วัดการเข้าถึงที่ยึดผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลางพร้อมอิงข้อมูลตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์
ความพร้อมใช้งาน 5G จะแสดงให้เห็นถึงสัดส่วนช่วงเวลาที่ผู้ใช้ Opensignal ใช้งานอุปกรณ์ 5G และการเป็นสมาชิกใช้งาน 5G ที่มีการเชื่อมต่อ 5G
AIS และ TrueMove H ยังเป็นผู้ชนะร่วมในรางวัลด้านการเข้าถึง 5G โดยมีสถิติคะแนนที่ 4.6-5 คะแนนจาก 10 คะแนน โดย DTAC ตามหลังมาที่ 3.1 คะแนน ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้งานบนเครือข่ายนี้เชื่อมต่อบริการ 5G ในสถานที่ต่าง ๆ มากกว่า 3 สถานที่จากทุก ๆ 10 สถานที่ที่เดินทางไป
ในทำนองเดียวกับความพร้อมใช้งาน 5G ทั้ง AIS และ TrueMove H ได้รับการพูดถึงในด้านการเข้าถึง 5G ที่มีประสิทธิภาพระดับโลก ในรายงาน รางวัลประสบการณ์เครือข่ายมือถือ 5G ระดับโลกประจำปี 2565
การเข้าถึง 5G จะวัดประสบการณ์ผู้ใช้งาน 5G ในขอบเขตพื้นที่เครือข่ายของผู้ให้บริการ โดยวิเคราะห์สัดส่วนค่าเฉลี่ยของพื้นที่ทั้งหมดที่ผู้ใช้งานเชื่อมต่อกับเครือข่าย 5G กล่าวคือ การเข้าถึง 5G จะวัดประสบการณ์การใช้มือถือ 5G ในทุกพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของผู้ใช้งาน — เช่น ที่พักอาศัย ที่ทำงานและการเดินทางทุกแห่ง ค่าวัดการเข้าถึง 5G ของผู้ให้บริการแต่ละรายมีตั้งแต่ 0-10
ครั้งนี้เป็นการแข่งขันระดับภูมิภาคด้านความพร้อมใช้งานที่เข้มข้น ทั้ง AIS และ TrueMove H ชนะรางวัลระดับภูมิภาคในด้านความพร้อมใช้งาน 5G ในเขตภาคใต้และกรุงเทพมหานครตามลำดับ TrueMove H ได้รางวัลนี้ในเขตเมืองหลวงซึ่งนับเป็นคะแนนสูงสุดของประเทศไทยคือ 31.9% นั่นหมายความว่าผู้ใช้งานของเราเชื่อมต่อบริการ 5G ผ่านผู้ให้บริการเครือข่ายรายนี้ในเขตกรุงเทพมหานครถึงหนึ่งในสามของเวลาทั้งหมด นอกจากนั้น TrueMove H ยังได้รับรางวัลร่วมระดับภูมิภาคในหมวดหมู่นี้อีก 3 รางวัล ในขณะที่ AIS รับรางวัลร่วม 2 รางวัล DTAC ได้รับรางวัลชนะร่วมกับ TrueMove H ด้านความพร้อมใช้งาน 5G ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ส่วนรางวัลด้านความพร้อมใช้งานยังไม่มีผู้ชนะเลิศในรายงานนี้ แต่ AIS ได้รับรางวัลชนะร่วมทั้งหมด 7 ภูมิภาค ตามด้วย TrueMove H ชนะรางวัลร่วม 6 รางวัล (ทุกภาคและภาคกลาง) และ DTAC ได้รับรางวัลร่วมในด้านความน่าเชื่อถือ 4 รางวัล ผู้ใช้งานของเราใช้เวลาเชื่อมต่อบริการ 3G หรือที่ดีกว่า มากที่สุดในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งสามรายได้รับรางวัลร่วมกันด้วยคะแนน 99.5%
AIS ได้รางวัลยอดเยี่ยมด้านคุณภาพความเสถียรในรายงานของ Opensignal ต่อเนื่องเป็นครั้งที่สอง ผู้ให้บริการรายนี้ผ่านเกณฑ์ประสิทธิภาพขั้นต่ำจากผู้ใช้ 62.9% สำหรับการใช้งานวิดีโอ HD การประชุมทางวิดีโอแบบกลุ่มและการเล่นเกม ซึ่งสูงกว่าในรายงานครั้งที่แล้ว 2% TrueMove H เป็นอันดับที่สองเข้าใกล้ AIS มากขึ้นจาก 5.3 มาอยู่ที่ 4.8 จุดเปอร์เซ็นต์ เป็นผลจากคะแนนที่เพิ่มขึ้น 2.6 จุดเปอร์เซ็นต์ และ DTAC ตามหลังคู่แข่งอยู่ห่าง ๆ ด้วยคะแนน 54.5%
คุณภาพความเสถียรจะวัดว่าผู้ใช้งานในเครือข่ายนั้นๆ ได้รับประสบการณ์ตามข้อกำหนดทั่วไปของการใช้งานแอปพลิเคชันได้อย่างเพียงพอมากน้อยเพียงใด โดยจะวัดความเร็วในการดาวน์โหลด ความเร็วในการอัปโหลด เวลาแฝงของเครือข่าย ค่าแปรผันของเวลา การสูญเสียแพ็กเก็ตข้อมูล เวลาในการส่งข้อมูลในไบต์แรกและเปอร์เซ็นต์ของการพยายามเชื่อมต่อซึ่งไม่สำเร็จอันเกิดจากปัญหาในส่วนของการดาวน์โหลดหรือการตอบรับของเซิร์ฟเวอร์
ตัววัดคุณภาพความเสถียร — คุณภาพความเสถียรขั้นสูงและคุณภาพความเสถียรหลักนี้คำนวณโดยใช้ข้อมูลและวิธีการจากบริษัทในเครือ Tutela ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่.
คุณภาพความเสถียรขั้นสูงคือเปอร์เซ็นต์การทดสอบจากผู้ใช้ในการรับชมวิดีโอความละเอียดระดับ HD การประชุมทางวิดีโอแบบกลุ่มและการเล่นเกมที่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ประสิทธิภาพการทำงานขั้นต่ำที่แนะนำ
DTAC ชนะรางวัลด้านคุณภาพความเสถียรไปครองด้วยคะแนน 87.1% ซึ่งสะท้อนอัตราส่วนเป็นเปอร์เซ็นต์ของการทดสอบจากผู้ใช้ DTAC โดยผ่านเกณฑ์ประสิทธิภาพการทำงานขั้นต่ำกับแอปพลิเคชันประสิทธิภาพต่ำ ซึ่งรวมถึงวิดีโอความละเอียดระดับ SD การโทรด้วยเสียงและการท่องเว็บ ผู้ให้บริการรายนี้คว้ารางวัลนี้ได้ต่อเนื่องกันเป็นครั้งที่สองในรายงานของ Opensignal ทว่าคู่แข่งก็กำลังไล่หลังมาติด ๆ ซึ่งในรายงานครั้งที่แล้ว AIS และ TrueMove H มีคะแนนเพิ่มขึ้น 1.6% และ 1% ตามลำดับ ในขณะที่ DTAC มีคะแนนเพิ่มขึ้นเพียง 0.6% เท่านั้น
คุณภาพความเสถียรจะวัดว่าผู้ใช้งานในเครือข่ายนั้นๆ ได้รับประสบการณ์ตามข้อกำหนดทั่วไปของการใช้งานแอปพลิเคชันได้อย่างเพียงพอมากน้อยเพียงใด โดยจะวัดความเร็วในการดาวน์โหลด ความเร็วในการอัปโหลด เวลาแฝงของเครือข่าย ค่าแปรผันของเวลา การสูญเสียแพ็กเก็ตข้อมูล เวลาในการส่งข้อมูลในไบต์แรกและเปอร์เซ็นต์ของการพยายามเชื่อมต่อซึ่งไม่สำเร็จอันเกิดจากปัญหาในส่วนของการดาวน์โหลดหรือการตอบรับของเซิร์ฟเวอร์
ตัววัดคุณภาพความเสถียร — คุณภาพความเสถียรขั้นสูงและคุณภาพความเสถียรหลักนี้คำนวณโดยใช้ข้อมูลและวิธีการจากบริษัทในเครือ Tutela ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่.
คุณภาพความเสถียรหลักคือเปอร์เซ็นต์การทดสอบจากผู้ใช้ในการใช้งานซึ่งรวมถึงวิดีโอความละเอียดระดับ SD การโทรด้วยเสียงและการท่องเว็บที่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ประสิทธิภาพการทำงานขั้นต่ำที่แนะนำสำหรับแอปพลิเคชันที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่า
เก็บรวมรวมข้อมูลเพื่อนำมาวัดค่ากว่าพันล้านครั้งต่อวัน จากอุปกรณ์กว่า 100 ล้านเครื่องทั่วโลก Opensignal วิเคราะห์ประสบการณ์ของผู้ใช้มือถืออย่างอิสระจากผู้ให้บริการเครือข่ายรายใหญ่ทุกแห่งทั่วโลก
Opensignal เป็นบริษัทผู้ดำเนินการวิเคราะห์ระบบมือถือที่มุ่งมั่นพัฒนาการเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือทั่วโลก เราบริหารงานอย่างอิสระเพื่อทำความเข้าประสบการณ์จริงที่ผู็ใช้ได้รับบนเครือข่ายไร้สาย
สื่อมวลชนโปรดอ้างอิงโลโก้ Opensignal และลิขสิทธิ์
(© Opensignal Limited) ข้อมูลเมื่อใช้ภาพนี้
ห้ามใช้ภาพนี้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าใด ๆ รวมถึงใช้ในการโฆษณาหรือเนื้อหาส่งเสริมการขายอื่น ๆ โดยไม่ได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า
สำหรับตัวชี้วัดทุกตัว เราคำนวณช่วงความเชื่อมั่นทางสถิติที่ระบุไว้บนกราฟ เมื่อช่วงความเชื่อมั่นซ้อนทับกันผลลัพธ์จะใกล้เคียงกันเกินกว่าจะวัดผลว่าใครเป็นผู้ชนะ ในกรณีดังกล่าวนี้ เราจะแสดงผลเป็นเชิงสถิติ ด้วยเหตุนี้ตัวชี้วัดบางประเภทจึงมีผู้ชนะหลายราย
กราฟแท่งจะแสดงช่วงความเชื่อมั่นเป็นขอบเขตที่ด้านใดด้านหนึ่งของแท่งกราฟ
ส่วนแผนภูมิตัวชี้วัดเสริมจะแสดงค่าบนช่วงความเชื่อมั่นเป็นตัวเลขบวกและลบ
ทำไมช่วงความเชื่อมั่นถึงสำคัญอย่างยิ่งต่อการวิเคราะห์ประสบการณ์เครือข่ายมือถือ