Opensignal เป็นบริษัทผู้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลอิสระที่วิเคราะห์ประสบการณ์ของผู้บริโภคบนมือถือที่มีมาตรฐานระดับโลก รายงานของบริษัทในอุตสาหกรรมนี้สามารถใช้เป็นแนวทางที่ชัดเจนเพื่อเข้าใจประสบการณ์จริงที่ผู้ใช้ได้รับจากเครือข่ายไร้สาย
Opensignal เป็นบริษัทผู้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลอิสระที่วิเคราะห์ประสบการณ์ของผู้บริโภคบนมือถือที่มีมาตรฐานระดับโลก รายงานของบริษัทในอุตสาหกรรมนี้สามารถใช้เป็นแนวทางที่ชัดเจนเพื่อเข้าใจประสบการณ์จริงที่ผู้ใช้ได้รับจากเครือข่ายไร้สาย
ตามที่เราได้เห็นเรื่องราวการคว้ารางวัลต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและทราบว่ามีผู้ชนะหลากหลายรายในด้านประสบการณ์โดยรวม ประสบการณ์ความครอบคลุมและประสบการณ์ความสม่ำเสมอ นับว่า AIS เป็นผู้ให้บริการที่โดดเด่นสามารถครองรางวัลในด้านประสบการณ์ 5G อย่างเด็ดขาด โดย AIS คว้ารางวัลด้านประสบการณ์ความพร้อมใช้งาน 5G ทั้งหมด 5 ประเภท ได้แก่ ประสบการณ์วิดีโอ 5G ประสบการณ์เกม 5G ประสบการณ์แอปพลิเคชันเสียง 5G ประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลดและอัปโหลด 5G ยิ่งกว่านั้น AIS ยังได้รับรางวัลด้านความครอบคลุมถึง 2 รางวัล ได้แก่ ความพร้อมใช้งาน 5G และการเข้าถึง 5G ซึ่งวัดจากขอบเขตของเครือข่าย 5G หมายความว่า AIS ทำคะแนนชนะได้ 7 จากทั้งหมด 11 รางวัลในหมวด 5G ซึ่งเป็นชัยชนะที่ทิ้งห่างคู่แข่งอย่างสิ้นเชิง.
ผู้ใช้ของเราได้รับประสบการณ์ความเร็วเฉลี่ยโดยรวมและความเร็วในการดาวน์โหลด 5G เร็วที่สุดเมื่อใช้งานบนเครือข่าย AIS โดยผู้ให้บริการรายนี้คว้ารางวัลด้านประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลดโดยรวมไปด้วยความเร็ว 19.4 Mbps นำอันดับที่สองอย่าง TrueMove H อยู่ 1.7 Mbps (9.7%) นอกจากนี้ AIS ยังชนะรางวัลด้านประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ด้วยความเร็วที่ 180.3 Mbps เหนือกว่าคู่แข่งที่ตามมาอันดับสองอย่าง TrueMove H ที่มีความเร็ว 57.4 Mbps (46.7%) ส่วน DTAC นั้นตามหลังคู่แข่งทั้งสองค่าย โดยมีความเร็วในการดาวน์โหลด 5G อยู่ที่ 25.7 Mbps และ AIS ยังได้รับรางวัลด้านประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลด 5G ด้วยความเร็ว 27.7 Mbps อีกด้วย อย่างไรก็ตาม ความเร็วโดยรวมสูงสุดในด้านการอัปโหลดของประเทศไทยยังอยู่บนเครือข่าย TrueMove H (8.2 Mbps) ซึ่งทำให้หนึ่งในสองผู้ให้บริการเครือข่ายคว้าชัยชนะไปในครั้งนี้.
ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ TrueMove H ยังคว้าชัยชนะในด้านประสบการณ์วิดีโอเป็นครั้งที่สองด้วยคะแนน 42.8 คะแนน มากกว่า DTAC 0.9 คะแนน โดยผู้ให้บริการทั้งสองรายได้รับการจัดอันดับให้อยู่ใน หมวดหมู่ ปานกลาง (40-55). AIS ตามหลังผู้ชนะมาเป็นอันดับที่สามด้วยคะแนน 5.1 คะแนน และได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในระดับแย่ (ต่ำกว่า 40) แต่อย่างไรผู้ใช้ของเราที่ใช้งานบนเครือข่ายของ AIS พบว่าคุณภาพของวิดีโอมีเพิ่มมากขึ้นบนเครือข่าย 5G ซึ่งทำให้ AIS ได้รับคะแนนด้านประสบการณ์วิดีโอ 5G สูงถึง 74.1 คะแนน ขาดเพียง 0.9 คะแนนเท่านั้น ที่จะก้าวไปอยู่ในระดับยอดเยี่ยม (75 คะแนนขึ้นไป) ถือเป็นชัยชนะอย่างขาดลอยของ AIS.
AIS ชนะรางวัลในด้านคุณภาพความเสถียรยอดเยี่ยมด้วยคะแนน 60.9% คะแนน โดยคะแนนนี้สะท้อนถึงเปอร์เซ็นต์ของการทดสอบบนเครือข่ายผู้ให้บริการของผู้ใช้งาน ตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำสำหรับการรับชมวิดีโอคุณภาพระดับ HD การประชุมทางวิดีโอแบบกลุ่มและเล่นเกม อย่างไรก็ตาม DTAC เป็นผู้ชนะรางวัลในด้านคุณภาพความเสถียรหลักไปด้วยคะแนน 86.5% ซึ่งถือเป็นการชนะด้วยคะแนนที่ขาดลอยในครั้งนี้ สำหรับคุณภาพความเสถียรหลักวัดจากเปอร์เซ็นต์การทดสอบของผู้ใช้งานตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำสำหรับการใช้แอปพลิเคชันที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่า ประกอบด้วย วิดีโอคุณภาพระดับ SD การโทรแบบเสียงและท่องเว็บ.
AIS รั้งอันดับหนึ่งทั้งในหมวดหมู่โดยรวมและหมวดหมู่ 5G ในด้านประสบการณ์เกมและประสบการณ์แอปพลิเคชันเสียง ซึ่งกวาดทั้ง 4 รางวัล โดยผลลัพธ์ในหมวดหมู่ประสบการณ์ทั้งหลายนี้แสดงให้เห็นว่าบริการ 5G นั้นจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์เครือข่ายมือถือที่ผู้ใช้ได้รับได้อย่างไร ในด้านประสบการณ์เกมนั้น AIS ได้รับการจัดอันดับในอยู่ในระดับปานกลาง (65-75) ขณะที่ DTAC และ TrueMove H นั้นอยู่ในระดับแย่ (40-65) อย่างไรก็ตาม ในด้านประสบการณ์เกม 5G นั้น ผู้ให้บริการทั้งหมดยังคงได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในระดับดี (75-85) ไม่ต่างจากด้านประสบการณ์ด้านแอปพลิเคชันเสียง 5G ที่ผู้ให้บริการทั้งหมดอยู่ในระดับดี (80-87) ซึ่งสูงกว่าที่ได้รับการจัดอันดับในด้านประสบการณ์แอปพลิเคชันเสียงโดยรวม.
ในเชิงสถิติแล้ว ผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งสามรายในประเทศไทยทั้ง AIS, DTAC และ TrueMove H ต่างได้รับรางวัลด้านความพร้อมในการใช้งานด้วยคะแนนมากกว่า 99% ซึ่งนับเป็นชัยชนะร่วมกันในหมวดหมู่เดียวในรายงานฉบับนี้ แต่อย่างไร AIS ยังคงเป็นผู้คว้ารางวัลทั้งในด้านความพร้อมใช้งาน 5G และการเข้าถึง 5G เมื่อดูในด้านความพร้อมใช้งาน 5G แล้ว ผู้ใช้ของเราบนเครือข่าย AIS มีการเชื่อมต่อ 5G ถึงเกือบหนึ่งในสี่ของช่วงเวลาที่ใช้งาน ซึ่งมากกว่าที่ผู้ใช้ได้รับในเครือข่าย TrueMove H ที่ 2.8% ในส่วนของการเข้าถึง 5G นั้น ผู้ใช้บนเครือข่าย AIS เชื่อมต่อ 5G ตามสถานที่ที่เดินทางไปเยี่ยมชมมากกว่า 5 แห่งจากทั้งหมด 10 แห่ง.
ด้วยการชนะทั้งหมด 11 รางวัลและการชนะร่วมอีก 1 รางวัลจาก 15 หมวดหมู่รางวัลที่มีอยู่ AIS จึงเป็นผู้ให้บริการที่โดดเด่นและครองพื้นที่ในตารางรางวัลในรายงานประสบการณ์เครือข่ายมือถือของประเทศไทย ฉบับล่าสุด โดย AIS ประสบความสำเร็จในด้าน 5G เป็นอย่างมาก เนื่องจากการได้รับรางวัลด้านประสบการณ์ 5G ทั้ง 5 รางวัล พร้อมรางวัลด้านความครอบคลุมของสัญญาณอีก 2 รางวัลที่จากวัดขอบเขตของเครือข่าย 5G ซึ่งได้แก่ ความพร้อมใช้งาน 5G และการเข้าถึง 5G.
ด้วยการที่ AIS เป็นผู้ครองรางวัลในตาราง ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายไทยรายอื่น ๆ ได้รับรางวัลน้อยลง TrueMove H เป็นผู้ชนะแต่เพียงผู้เดียวในสองรางวัล ได้แก่ รางวัลด้านประสบการณ์วิดีโอและประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลด ขณะที่ DTAC ยังคงรั้งผู้ชนะรางวัลด้านคุณภาพความเสถียรหลักไว้ได้เช่นกัน ซึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งสามรายนี้ชนะรางวัลด้านความพร้อมในการใช้งานร่วมกัน ซึ่งนับเป็นรางวัลเดียวตามตารางรอบนี้
ขณะที่ AIS เป็นผู้ครองรางวัลส่วนใหญ่ในตารางขณะนี้ แต่หลังจากการร่วมทุนกันแล้ว อาจเห็นการตอบโต้จาก DTAC และ TrueMove H ในรายงานครั้งหน้าบ้างก็เป็นได้ ตามที่ผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งสองรายได้ตัดสินใจที่จะ ควบรวมกิจการ ในเดือนพฤศจิกายน 2564 เมื่อผู้บริหารของทั้งสองฝ่ายได้ลงนามในข้อตกลงแล้วจึงมีการยอมรับให้ควบรวมกิจการใน เดือนกุมภาพันธ์ 2565 หลังจากมีการควบรวมกิจการแล้ว รูปลักษณ์ของแบรนด์ใหม่อาจเปลี่ยนเป็น True-D, ซึ่งมีผู้ใช้บริการอยู่ในตลาดมือถือ มากกว่า 50% ซึ่งการตัดสินใจเรื่องนี้ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการตาม เกณฑ์การอนุมัติ แต่ก็ได้รับการคัดค้านจากคู่แข่งหลักของทั้งสองฝ่าย อย่าง, AIS และหน่วยงานอื่น ๆ ที่ได้รับความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นด้วยการแข่งขันที่ลดลง.
ขณะเดียวกัน AIS ได้ทำการเชื่อมต่อแบบ NR dual ทดสอบภาคสนาม กับ Qualcomm และ ZTE ซึ่งเป็นการรวมคลื่นความถี่ระดับกลางแบบ 2.6 GHz และคลื่นความถี่ในระดับมิลลิเมตร 26 GHz การผสมผสานคลื่นความถี่ 5G ที่ต่างกันจะช่วยสร้างช่องสัญญาณที่กว้างขึ้นในขณะที่เวลาแฝงของเครือข่ายต่ำลง AIS วางแผนขยายการใช้งาน mmWave ของตนเอง และกล่าวอีกว่าตนเป็นผู้ให้บริการรายแรกในประเทศไทยที่เปิดตัว โทรเสียงบนเครือข่าย 5G (VoNR) ซึ่งเปิดให้ใช้งานการโทรด้วยเสียงบนเครือข่าย 5G แบบสแตนด์อะโลนของ AIS ที่เพิ่งเปิดตัวไป่.
ผลลัพธ์ในรายงานฉบับนี้อ้างอิงจากการประเมินที่รวบรวมข้อมูลมาจากผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือรายใหญ่ทั้งหมดในประเทศไทย ได้แก่ AIS, DTAC และ TrueMove H – ระยะเวลา 90 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึง 31 มีนาคม 2565 เพื่อดูผลของทั้งสามราย.
TrueMove H คว้ารางวัลด้านประสบการณ์วิดีโอด้วยคะแนน 42.8 คะแนน DTAC ตามหลังมาติด ๆ เป็นอันดับสองด้วยคะแนนส่วนต่างเพียง 0.9 คะแนน ส่วน AIS อยู่ในอันดับที่สามในหมวดหมู่นี้ด้วยคะแนน 37.8.
AIS เป็นผู้ชนะรางวัลด้านประสบการณ์เกมด้วยคะแนน 70.1 เต็ม 100 คะแนน นำ DTAC อันดับที่สองอยู่ 6.1 คะแนน โดย AIS เป็นผู้ให้บริการเครือข่ายรายเดียวที่ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในระดับปานกลาง (65-75) หมายความว่าผู้ใช้ได้รับประสบการณ์เกมในระดับปานกลางและผู้ใช้งานส่วนใหญ่รายงานว่า พบกับความล่าช้าในการเคลื่อนไหวและการแสดงผลในเกม.
ขณะที่คู่แข่งทั้งสองรายของ AIS นั่นก็คือ DTAC และ TrueMove H ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับแย่ (40-65) โดยผู้ใช้ส่วนใหญ่รับไม่ได้กับประสบการณ์นี้และหลายคนรู้สึกว่าตนเองไม่สามารถควบคุมได้.
คล้ายกับประสบการณ์เกม AIS ได้รับรางวัลด้านประสบการณ์แอปพลิเคชันเสียงด้วยคะแนน 79.1 คะแนน ตามมาด้วยอันดับที่สองอย่าง DTAC ด้วยคะแนนส่วนต่าง 2.7 คะแนน ซึ่งผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งสองรายนี้ยังได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในระดับ ยอมรับได้ (74-80).
ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้งานมีความพึงพอใจ แต่ผู้ใช้บางกลุ่มยังคงพบกับความบกพร่องในด้านคุณภาพในการโทร TrueMove H ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในระดับแย่ (66-74) หมายความว่าผู้ใช้งานจำนวนมากรู้สึกไม่พึงพอใจและพบกับความบกพร่องในด้านคุณภาพการโทร.
ผู้ใช้ของเราได้รับประสบการณ์ความเร็วเฉลี่ยในการดาวน์โหลดโดยรวมเร็วที่สุดเมื่อใช้งานบนเครือข่าย AIS ดังนั้น AIS จึงเป็นผู้ชนะรางวัลด้านประสบการณ์ความเร็วโดยรวมในการดาวน์โหลดที่ความเร็ว 19.4 Mbps นำหน้า TrueMove H อันดับที่สองอยู่ 1.7 Mbps และมี DTAC ตามหลังมาด้วยความเร็ว 11.2 Mbps.
เมื่อดูจากประสบการณ์ด้านความเร็วโดยรวมในการดาวน์โหลดของผู้ใช้ 5G ที่สมัครใช้งาน 5G เรียบร้อยแล้ว เราพบว่าความเร็วในการดาวน์โหลดเฉลี่ยที่เร็วที่สุดบนเครือข่ายของ AIS คือ 75.2 Mbps ตามมาด้วย TrueMove H ที่ 51 Mbps.
รางวัลด้านประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลดตกเป็นของ TrueMove H ซึ่งผู้ใช้ในประเทศไทยได้รับความเร็วในการอัปโหลดเฉลี่ยที่เร็วที่สุดบนเครือข่ายนี้ที่ 8.2 Mbps เร็วกว่า AIS อันดับสองเพียง 0.2 Mbps (2.6%) สำหรับ DTAC ทำความเร็วได้ที่ 4.2 Mbps ซึ่งสูงประมาณครึ่งนึงของค่าเฉลี่ยของความเร็วในการอัปโหลดที่ผู้ใช้ TrueMove H ได้รับ.
หากดูจากประสบการณ์ด้านความเร็วโดยรวมในการอัปโหลด 5G โดยผู้ใช้งาน 5G แล้ว AIS ขึ้นมานำด้วยความเร็ว 17.4 Mbps นำหน้าอันดับสองอย่าง TrueMove H อยู่ 3.6 Mbps ส่วน DTAC ตามมาเป็นอันดับสามด้วยความเร็ว 8 Mbps ซึ่งน้อยกว่าครึ่งหนึ่งของความเร็วในการอัปโหลด 5G ของ AIS.
จากทั้ง 7 ภูมิภาคกับอีก 5 รางวัลในด้านประสบการณ์โดยรวมของประเทศไทยนั้น AIS กวาดรางวัลแต่เพียงผู้เดียวไปทั้งหมด 22 รางวัลและคว้ารางวัลร่วมกับคู่แข่งอีก 3 รางวัลจากทั้งหมด 35 รางวัล รวมทั้งได้รับรางวัลในด้านประสบการณ์เกมและประสบการณ์แอปพลิเคชันเสียงอีกด้วย ซึ่งทั้งสองหมวดหมู่นี้ เราสังเกตเห็นว่าคะแนนสูงสุดของประเทศไทยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นของเครือข่าย AIS ด้วยคะแนน 76.4 ในด้านประสบการณ์เกมและ 80.4 คะแนนในด้านประสบการณ์แอปพลิเคชันเสียง.
AIS เกือบจะกวาดทุกรางวัลในด้านประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลดเช่นกัน แต่เนื่องจากในภาคใต้ยังคงเสมอกับ TrueMove H ทำให้คว้ารางวัลไปได้เพียง 6 จาก 7 ภูมิภาค ผู้ใช้ของเราในประเทศไทยที่ใช้งานบนเครือข่ายของ AIS ในเขตกรุงเทพมหานครได้รับความเพลิดเพลินไปกับความเร็วในการดาวน์โหลดและอัปโหลดเฉลี่ยสูงสุดในประเทศที่ 27.8 Mbps และ 11.6 Mbps ตามลำดับ.
ส่วน TrueMove H นั้นคว้ารางวัลแต่เพียงผู้เดียวไปทั้งหมด 6 รางวัลและชนะรางวัลร่วมกับคู่แข่งอีก 6 รางวัล โดยส่วนใหญ่อยู่ในหมวดประสบการณ์วิดีโอและประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลด TrueMove Hยังเป็นผู้คว้ารางวัลเดี่ยวในด้านประสบการณ์วิดีโอในเขตภาคกลาง ภาคตะวันออกและเขตกรุงเทพมหานคร ตามที่ี่ผู้ใช้งานเครือข่ายนี้ของเราได้เห็นคะแนนสูงสุดในประเทศถึง 51.4 คะแนน เพราะในด้านประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลดนั้น TrueMove H ได้รับคำชื่นชมเป็นอย่างมากในเขตภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันตก ส่วน DTAC นั้นได้รับรางวัลด้านประสบการณ์วิดีโอทั้งหมด โดย DTAC คว้ารางวัลชนะแต่เพียงผู้เดียวในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือและได้รับรางวัลร่วมกับ TrueMove H ในเขตภาคเหนือ ภาคใต้และภาคตะวันตก.
ประสบการณ์วิดีโอจาก Opensignal เป็นการวัดคุณภาพของวิดีโอที่สตรีมในโทรศัพท์มือถือโดยวัดจากการสตรีมวิดีโอจริงทั่วโลกผ่านเครือข่ายของผู้ให้บริการ ระบบการวัดนี้ดำเนินการตามแนวทางของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ซึ่งถูกสร้างขึ้นจากการศึกษาอย่างละเอียดที่มีการรับความสัมพันธ์ระหว่างพารามิเตอร์ทางเทคนิค ประกอบไปด้วย คุณภาพของภาพ เวลาในการโหลดวิดีโอและอัตราการหยุดนิ่งเวลาใช้งาน โดยได้รับข้อมูลมาจากรายงานประสบการณ์ของผู้ใช้จริง ในการคำนวณประสบการณ์วิดีโอ เราได้ทำการวัดการสตรีมวิดีโอโดยตรงจากผู้ใช้ปลายทางและใช้วิธีการของ ITU นี้เพื่อวัดประสบการณ์วิดีโอโดยรวมของผู้ให้บริการแต่ละเครือข่ายเป็นช่วงคะแนนจาก 0-100 การทดสอบวิดีโอนั้นรวมถึงความละเอียดต่าง ๆ ทั้งแบบ Full HD (FHD) และ 4K/ Ultra HD (UHD) รวมถึงการสตรีมโดยตรงจากผู้ให้บริการวิดีโอรายใหญ่ที่สุดในโลก
การวัดที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์วิดีโอดังต่อไปนี้
การวัดประสบการณ์เกมจาก Opensignal นั้นวัดประสบการณ์ของผู้ใช้อุปกรณ์มือถือจากการเล่นเกมมือถือแบบเรียลไทม์มัลติเพลเยอร์บนเครือข่ายของผู้ให้บริการ โดยวัดเป็นช่วงคะแนน 0-100 เป็นการวิเคราะห์ประสบการณ์เกมมือถือแบบมัลติเพลเยอร์ที่ผู้ใช้ได้รับจากสภาพของเครือข่ายมือถือว่าเป็นอย่างไร รวมถึงเวลาแฝงของเครือข่าย การสูญเสียแพ็กเก็ตข้อมูล และค่าแปรผันของเวลา
ประสบการณ์เกมนั้นจะวัดค่าประสบการณ์ในขณะที่ผู้เล่นเล่นเกมมือถือแบบเรียลไทม์มัลติเพลเยอร์โดยใช้อุปกรณ์มือถือเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ที่มีอยู่ทั่วโลก แนวคิดนี้เกิดจากการศึกษาวิจัยเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน เพื่อใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างพารามิเตอร์ทางเทคนิคของเครือข่ายและประสบการณ์การเล่นเกมจากการรายงานของผู้ใช้มือถือจริง ซึ่งพารามิเตอร์เหล่านี้หมายความรวมถึง ประสบการณ์เวลาแฝงของเครือข่าย (เวลาตามรอบ) ค่าแปรผันของเวลา (ความแปรปรวนของเวลาแฝงในเครือข่าย) และการสูญเสียแพ็กเก็ต (สัดส่วนของแพ็กเก็ตข้อมูลที่ไปไม่ถึงปลายทาง) นอกจากนี้ ยังพิจารณาจากเกมมือถือแบบมัลติเพลเยอร์หลากหลาย ประเภท เพื่อวัดค่าความไวเฉลี่ยที่มีต่อสภาพเครือข่าย โดยเกมที่ทดสอบหมายความรวมถึงเกมมือถือแบบเรียลไทม์มัลติเพลเยอร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดบางเกม (เช่น Fortnite, Pro Evolution Soccer และ Arena of Valor) ที่เล่นกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก
การคำนวณประสบการณ์เกมเริ่มต้นด้วยการวัดประสบการณ์แบบ end-to-end จากอุปกรณ์ของผู้ใช้ไปจนถึงจุดปลายทางของอินเทอร์เน็ตที่เป็นโฮสต์จริงของเกม ช่วงคะแนนที่ใช้วัดตั้งแต่ 0-100
นอกจากนี้ เรายังจัดทำรายงานตามค่าการวัดที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์เกม ดังต่อไปนี้
ประสบการณ์แอปพลิเคชั่นเสียงจาก Opensignal นั้นวัดผลคุณภาพประสบการณ์จากบริการเสียงแบบ over-the-top (OTT) กล่าวคือแอปสื่อสารด้วยเสียงในมือถือ เช่น WhatsApp, Skype และ Facebook Messenger โดยใช้โมเดลของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) คำนวณคุณภาพการโทรด้วยเสียงโดยรวมในเชิงปริมาณ ด้วยชุดพารามิเตอร์ทางเทคนิคที่ปรับเทียบแล้ว โมเดลนี้แสดงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการวัดทางเทคนิคและคุณภาพการโทรที่รับรู้และมองเห็นได้ ประสบการณ์แอปพลิเคชั่นเสียงของผู้ให้บริการมือถือแต่ละรายคำนวณเป็นช่วงคะแนนตั้งแต่ 0-100
นอกจากนี้ เรายังทำรายงานตามค่าการวัดที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์แอปพลิเคชั่นเสียงดังต่อไปนี้:
วัดค่าเป็น Mbps ประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลดนั้นจะแสดงถึงค่าความเร็วทั่วไปในทุกๆวันที่ผู้ใช้งานได้รับผ่านการใช้ข้อมูลบนเครือข่ายมือถือของผู้ให้บริการ
นอกจากนี้ เรายังจัดทำรายงานตามค่าการวัดที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลดดังต่อไปนี้:
ประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลดนั้นวัดความเร็วในการอัปโหลดเฉลี่ยของแต่ละเครือข่ายที่ผู้ใช้งานได้รับ โดยทั่วไปแล้ว ความเร็วในการอัปโหลดนั้นจะต่ำกว่าความเร็วในการดาวน์โหลด ด้วยเทคโนโลยีบรอดแบนด์บนมือถือในปัจจุบันได้มุ่งเน้นไปที่ทรัพยากรเพื่อมอบความเร็วสูงสุดในการดาวน์โหลดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ที่ใช้รับชมเนื้อหาบนอุปกรณ์ของตนเอง แต่เนื่องด้วยความนิยมในการใช้อินเทอร์เน็ตมือถือเปลี่ยนจากการดาวน์โหลดเนื้อหาไปเป็นการสร้างเนื้อหาพร้อมทั้งต้องรองรับบริการการสื่อสารแบบเรียลไทม์ด้วยแล้วนั้น ความเร็วในการอัปโหลดจึงกลายมาเป็นสิ่งที่น่าจับตามอง อีกทั้งเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ที่ต้องการพื้นที่ในการจัดเก็บมากขึ้น
นอกจากนี้ เรายังจัดทำรายงานตามค่าการวัด 5 ตัวที่เกี่ยวข้องกับประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลดดังต่อไปนี้:
ขณะที่ TrueMove H เป็นผู้ชนะรางวัลในด้านประสบการณ์วิดีโอ AIS ระบุว่าตนเป็นผู้นำในด้านประสบการณ์วิดีโอ 5G แต่เพียงผู้เดียวด้วยคะแนน 74.1 คะแนน โดยผู้ใช้ที่ใช้งานบนเครือข่ายของ AIS ได้เห็นว่าวิดีโอมีคุณภาพดียิ่งขึ้นอย่างมากบนเครือข่าย 5G แต่ยังอยู่เพียงอันดับที่สามในด้านประสบการณ์วิดีโอโดยรวมด้วยคะแนน 37.8 คะแนน.
เช่นเดียวกับในด้านประสบการณ์เกมที่ AIS คือผู้นอันดับแรกในด้านประสบการณ์เกม 5G ด้วยคะแนน 81.3 คะแนน นำหน้า DTAC อันดับที่สองอยู่ 2.1 คะแนน แต่ผู้ให้บริการเครือข่ายทั้งสามรายก็ได้รับการจัดอยู่ในระดับดี (75-85) เนื่องจากมีคะแนนต่างกันน้อยกว่า 4 คะแนน ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้ส่วนใหญ่ พอใจกับประสบการณ์ที่ได้รับและไม่พบความล่าช้าระหว่างการเล่นเกม.
นับเป็นการพัฒนาขึ้นอย่างมีนัยยะกับผลลัพธ์ของประสบการณ์เกมโดยรวมที่ AIS เคยจัดอยู่ระดับปานกลาง (65-75) ส่วน DTAC และ TrueMove H เคยอยู่ในระดับแย่ (40-65).
หลังจากที่ AIS ชนะรางวัลด้านประสบการณ์วิดีโอ 5G และประสบการณ์เกม 5G แล้ว AIS ยังได้ทุบสถิติคว้ารางวัลที่สามด้านประสบการณ์ 5G ของตนเองได้สำเร็จ คือ รางวัลด้านประสบการณ์แอปพลิเคชันเสียง 5G ที่ AIS คว้าชัยชนะไปด้วยคะแนน 82.6 คะแนน โดยทั้ง DTAC และ TrueMove H คว้าอันดับที่ 2 ร่วม มีคะแนนน้อยกว่าผู้ชนะอยู่ที่ 1.6-1.9 คะแนน ตามลำดับ.
ผู้ให้บริการเครือข่ายทุกรายได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับดี (80-87) ทำให้มีคะแนนสูงกว่าประสบการณ์โดยรวมของแอปพลิเคชันเสียง คะแนนในระดับดีหมายความว่าผู้ใช้จำนวนมากได้รับความพึงพอใจแต่ยังมีบางส่วนที่ยังพบปัญหาด้านคุณภาพเล็ก ๆ น้อย ๆ บางครั้งเกิดจากสภาพแวดล้อมในพื้นที่ใช้งานที่อับทึบจึงเป็นเหตุให้เสียงไม่ชัดเจนหรือเสียงไม่ดังเพียงพอ.
AIS ชนะรางวัลด้านความเร็วในการดาวน์โหลดทั้งสองรางวัล โดย AIS คว้ารางวัลด้านประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ด้วยความเร็วที่ 180.3 Mbps พร้อมมีความเร็วทิ้งห่างมากกว่า TrueMove H ถึง 57.4 Mbps (46.7%) .
ในขณะที่ DTAC ยังคงตามหลังคู่แข่งค่อนข้างมาก โดยมีความเร็วในการดาวน์โหลดอยู่ที่ 25.7 Mbps ซึ่งผู้ใช้งานบนเครือข่าย AIS ที่ได้รับประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลดเฉลี่ย 5G สูงกว่าบนเครือข่าย DTAC ถึง 7 เท่า และสูงกว่าบนเครือข่าย TrueMove H ถึง 4.8 เท่า ทั้ง AIS และ TrueMove H นั้นให้บริการเครือข่าย 5G บนคลื่นความถี่ 2.6 GHz ขณะที่, DTAC นั้นใช้คลื่นความถี่ 700 MHz ในการให้บริการเครือข่าย 5G ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมากในการ การถือครองคลื่นความถี่ ระหว่างผู้ให้บริการเครือข่ายหลักในประเทศไทยทั้งสามราย AIS ถือครองคลื่นความถี่ถึง 1,420 MHz (จำนวน 1200 MHz ในคลื่น 26 GHz), True Move H — ถือครองคลื่นความถี่ 990 MHz (จำนวน 800 MHz ในคลื่น 26 GHz) ขณะที่ DTAC มคลื่นความถี่เพียง 270 MHz (จำนวน 200 MHz ในคลื่น 26 GHz) เท่านั้น.
AIS ได้รับรางวัลด้านประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลด 5G ด้วยความเร็ว 27.7 Mbps โดย AIS มี้ความเร็วนำอันดับที่สองอย่าง TrueMove H ซึ่งเป็นผู้ชนะรางวัลด้านประสบการณ์ความเร็วโดยรวมในการอัปโหลดอยู่ที่ 5.6 Mbps (25.3%) โดยผู้ให้บริการทั้งสองเครือข่ายนี้สามารถทำความเร็วในการอัปโหลด 5G เฉลี่ยที่ 20 Mbps ต่างจาก DTAC ที่ทำความเร็วอยู่ที่ 15.7 Mbps.
ความเร็วในการอัปโหลดนั้นถือว่ามีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ในธุรกิจให้บริการเครือข่ายมือถือ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้งานและพฤติกรรมการบริโภค ในปัจจุบันที่ผู้ใช้มือถือต่างมีส่วนร่วมกับการใช้แอปโซเชียลมีเดียมากขึ้น เช่น การสร้างและแชร์รูปภาพหรือวิดีโอที่มีความละเอียดสูง อีกทั้งยังสร้างเนื้อหาเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ นอกเหนือจากการบริโภคเพียงอย่างเดียว ซึ่งส่งผลดีต่อผู้ให้บริการที่มีความเร็วในการอัปโหลดสูงที่สุด.
AIS กวาดรางวัลด้านประสบการณ์ 5G ในระดับภูมิภาคเกือบทั้งหมดในตาราง โดยเป็นผู้ชนะรางวัลผู้เดียว 24 รางวัลและชนะรางวัลร่วม 1 รางวัลจากทั้งหมด 25 รางวัล ซึ่งรางวัลชนะร่วมหนึ่งครั้งนั้นเป็นรางวัลในด้านประสบการณ์แอปพลิเคชันเสียง 5G ในเขตภาคใต้ ที่มีคะแนนเสมอกับ DTAC ผู้ใช้งานของเราได้เห็นถึงความเร็วในการดาวน์โหลด 5G สูงที่สุดในเขตกรุงเทพมหานครจากการใช้งานบนเครือข่าย AIS ที่ความเร็ว 219 Mbps นอกจากนี้ AIS ยังคว้าตำแหน่งผู้นำอันดับหนึ่งในด้านความเร็วเฉลี่ยในการอัปโหลด 5G ที่สูงที่สุดในประเทศ ในเขตกรุงเทพมหานครและภาคตะวันออกด้วยความเร็ว 31.7 Mpbs และ 29.8 Mbps ตามลำดับ.
ประสบการณ์วิดีโอ 5G วัดคุณภาพของวิดีโอบนมือถือที่ผู้ใช้ของ Opensignal ได้รับจากการสตรีมวิดีโอตามความเป็นจริงเมื่อเชื่อมต่อกับ 5G ระบบการวัดนี้ดำเนินการตามแนวทางของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ซึ่งถูกสร้างขึ้นจากการศึกษาอย่างละเอียดที่มีการรับความสัมพันธ์ระหว่างพารามิเตอร์ทางเทคนิค ประกอบไปด้วยคุณภาพของภาพ เวลาในการโหลดวิดีโอและอัตราการหยุดนิ่งเวลาใช้งานโดยได้รับข้อมูลมาจากรายงานประสบการณ์ของผู้ใช้จริง ในการคำนวณประสบการณ์วิดีโอ 5G เราได้ทำการวัดการสตรีมวิดีโอโดยตรงจากผู้ใช้ปลายทางและใช้วิธีของ ITU นี้เพื่อวัดประสบการณ์วิดีโอจากผู้ใช้งานจริงบนแต่ละเครือข่ายของผู้ให้บริการ 5G เป็นช่วงคะแนนจาก 0-100 การทดสอบวิดีโอนั้นรวมถึงความละเอียดต่าง ๆ ทั้งแบบ Full HD (FHD) และ 4K/ Ultra HD (UHD) รวมถึงการสตรีมโดยตรงจากผู้ให้บริการวิดีโอรายใหญ่ที่สุดในโลก
การวัดประสบการณ์เกม 5G นั้นวัดผลประสบการณ์ของผู้ใช้อุปกรณ์มือถือในการเล่นเกมมือถือแบบเรียลไทม์มัลติเพลเยอร์บนเครือข่ายของผู้ให้บริการ 5G สิ่งนี้วิเคราะห์ประสบการณ์เกมมือถือแบบมัลติเพลเยอร์ที่ผู้ใช้ได้รับผลกระทบจากสภาพของเครือข่ายมือถือว่าเป็นอย่างไรบ้าง รวมถึงประสบการณ์เวลาแฝงของเครือข่าย การสูญเสียแพ็กเก็ตข้อมูล และค่าแปรผันของเวลา ประสบการณ์เกมมือถือ 5G ของผู้ให้บริการแต่ละรายมีการคำนวณค่าตั้งแต่ 0-100
ประสบการณ์เกม 5G นั้นจะวัดค่าประสบการณ์ในขณะที่ผู้เล่นเล่นเกมมือถือแบบเรียลไทม์มัลติเพลเยอร์โดยใช้อุปกรณ์มือถือเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ที่มีอยู่ทั่วโลก แนวคิดนี้เกิดจากการศึกษาวิจัยเป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน เพื่อใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างพารามิเตอร์ทางเทคนิคของเครือข่ายและประสบการณ์การเล่นเกมจากรายงานของผู้ใช้มือถือจริง พารามิเตอร์เหล่านี้หมายความรวมถึงประสบการณ์เวลาแฝงของเครือข่าย (เวลาตามรอบ) ค่าแปรผันของเวลา (ความแปรปรวนของเวลาแฝงในเครือข่าย) และการสูญเสียแพ็กเก็ต (สัดส่วนของแพ็กเก็ตข้อมูลที่ไปไม่ถึงปลายทาง) นอกจากนี้ ยังพิจารณาเกมมือถือแบบมัลติเพลเยอร์หลากหลายประเภท เพื่อวัดค่าความไวเฉลี่ยที่มีต่อสภาพเครือข่าย โดยเกมที่ทดสอบหมายความรวมถึงเกมมือถือมัลติเพลเยอร์แบบเรียลไทม์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดบางเกม (เช่น Fortnite, Pro Evolution Soccer และ Arena of Valor) ที่เล่นกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก การคำนวณประสบการณ์เกม 5G เริ่มต้นด้วยการวัดประสบการณ์แบบ end-to-end จากอุปกรณ์ของผู้ใช้ไปจนถึงจุดปลายทางของอินเทอร์เน็ตที่เป็นโฮสต์จริงของเกม
ประสบการณ์แอปพลิเคชั่นเสียง 5G นั้นวัดจากประสบการณ์ที่ผู้ใช้ของ Opensignal ได้รับเมื่อใช้งานแอปสื่อสารด้วยเสียง เช่น WhatsApp, Skype และ Facebook Messenger บนเครือข่ายสัญญาณ 5G ของผู้ให้บริการ ใช้โมเดลของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) คำนวณคุณภาพการโทรด้วยเสียงโดยรวมในเชิงปริมาณ ด้วยชุดพารามิเตอร์ทางเทคนิคที่ปรับเทียบแล้ว โมเดลนี้แสดงความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการวัดทางเทคนิคและคุณภาพการโทรที่รับรู้และมองเห็นได้ ประสบการณ์แอปพลิเคชั่นเสียง 5G ของผู้ให้บริการมือถือแต่ละรายคำนวณเป็นช่วงคะแนนตั้งแต่ 0-100
ความเร็วในการดาวน์โหลด 5G แสดงประสบการณ์ความเร็วในการดาวน์โหลดโดยเฉลี่ยที่ผู้ใช้ Opensignal ได้รับบนอุปกรณ์ 5G บนเครือข่ายของผู้ให้บริการ ความเร็วในการดาวน์โหลด 5G ของผู้ให้บริการแต่ละรายนั้นจะคำนวณเป็น Mbps (เมกะบิตต่อวินาที)
ความเร็วในการอัปโหลด 5G แสดงประสบการณ์ความเร็วในการอัปโหลดโดยเฉลี่ยที่ผู้ใช้ Opensignal ได้รับบนอุปกรณ์ 5G บนเครือข่ายของผู้ให้บริการ ความเร็วในการอัปโหลด 5G ของผู้ให้บริการแต่ละรายนั้นจะคำนวณเป็น Mbps (เมกะบิตต่อวินาที)
ผู้ให้บริการด้านเครือข่ายระดับประเทศทั้งสามรายของประเทศไทย ได้แก่ AIS, DTAC และ TrueMove H นั้นได้รับรางวัลร่วมกันในด้านความพร้อมในการใช้งานด้วยคะแนนเท่ากันในทางสถิติ 99.1-99.2% โดยผลลัพธ์เหล่านี้หมายความว่าผู้ใช้งานในประเทศไทยมีการเชื่อมต่อหรือใช้บริการ 3G, 4G หรือ 5G มากกว่า 99% ของช่วงเวลาการใช้งาน.
AIS คว้ารางวัลด้านความพร้อมใช้งาน 5G ด้วยคะแนน 24.1% ซึ่งมากกว่า TrueMove H อยู่ 2.8% โดยผู้ใช้งานบนเครือข่ายทั้งสองนี้เชื่อมต่อบริการ 5G มากกว่า 20% ขณะเดียวกัน ผู้ใช้บนเครือข่าย DTAC กลับมีการเชื่อมบริการ 5G น้อยกว่า 10% ของช่วงเวลาการใช้งานทั้งหมด.
รางวัลอื่น ๆ ที่วัดจากขอบเขตของเครือข่าย 5G ที่ AIS ได้รับ คือ รางวัลด้านการเข้าถึง 5G โดย AIS ชนะรางวัลนี้ด้วยคะแนน 5.5 คะแนนจากทั้งหมด 10 คะแนน ผลลัพธ์นี้หมายความว่า ผู้ใช้บนเครือข่าย AIS มีการเชื่อมต่อ 5G ตามสถานที่ที่เดินทางไปเยี่ยมชมมากกว่า 5 แห่งจากทั้งหมด 10 แห่ง โดย TrueMove H ตามมาเป็นอันดับที่สองด้วยคะแนนส่วนต่างจากผู้ชนะเพียง 0.7 คะแนน ในขณะที่ DTAC ได้ 3 คะแนน.
เมื่อพิจารณาจากรางวัลด้านความครอบคลุมของสัญญาณในระดับภูมิภาคแล้ว AIS ได้รับรางวัลเพียงผู้เดียว 3 รางวัล ได้แก่ รางวัลความพร้อมใช้งาน 5G ในเขตภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ และยังได้รับอีก 8 รางวัลร่วมกับคู่แข่งจากทั้งหมด 12 รางวัล ส่วนTrueMove H คว้าชัยชนะระดับภูมิภาคแต่เพียงผู้เดียวในด้านความพร้อมในการใช้งานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมชนะอีก 7 รางวัลร่วมกับคู่แข่ง(รวมรางวัลด้านความพร้อมใช้งาน 5G อีก 2 รางวัล) สำหรับ DTAC ในครั้งนี้ยังไม่มีรางวัลเดี่ยวใด ๆ แต่ DTAC ก็ได้รับ 5 รางวัลร่วม ในด้านความพร้อมใช้งาน และมีสถิติเสมอกับคู่แข่งรายอื่น ๆ ใน 3 เขต ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ภาคกลาง ภาคเหนือและภาคใต้.
ความพร้อมใช้งานไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความครอบคลุมหรือขอบเขตพื้นที่ให้บริการของเครือข่าย ไม่ได้บ่งชี้ว่าสถานที่ที่คุณวางแผนจะเดินทางไปนั้นมีสัญญาณหรืออับสัญญาณ ทว่า เป็นการวัดช่วงเวลาที่ผู้คนทำการเชื่อมต่อกับเครือข่ายในสถานที่ที่พวกเขาเดินทางไปบ่อย ๆ รวมถึงวัดสิ่งที่การวัดค่าแบบเดิมไม่สามารถวัดได้ โดยดูช่วงเวลาที่ผู้ใช้ทำการเชื่อมต่อมากกว่าสถานที่ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การใช้งานจริงของผู้ใช้ได้อย่างแม่นยำ
นอกจากนี้ ยังมีการติดตามกลุ่มตัวอย่างที่ทำให้ผู้ใช้งานมือถือเกิดความหงุดหงิดรำคาญใจ ได้แก่ เมื่อไม่พบสัญญาณที่จะต้องทำการเชื่อมต่อ และพื้นที่อับสัญญาณที่ผู้ใช้มักประสบปัญหานั้นก็คือ พื้นที่ภายในอาคาร ซึ่งความพร้อมใช้งานข้อมูลที่สูงที่สุดนั้นก็อยู่ภายในอาคารเช่นเดียวกัน (เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ผู้ใช้ใช้เวลาอยู่มากที่สุดเป็นปกติ) และเราก็เป็นผู้เชี่ยวชาญในการค้นหาพื้นที่อับสัญญาณ
ตัววัดความพร้อมใช้งานของเราใช้แนวทางที่เน้นผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลางและอิงตามเวลา ซึ่งส่งเสริมวิธีการใช้ตัวชี้วัดการเข้าถึงที่ยึดผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลางพร้อมอิงข้อมูลตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์
ความพร้อมใช้งานจะแสดงสัดส่วนของเวลาที่ผู้ใช้งานของ Opensignal ทุกคนได้มีการใช้งาน 3G, 4G หรือ 5G บนเครือข่ายของผู้ให้บริการ
ความพร้อมใช้งานไม่ได้เป็นตัวชี้วัดความครอบคลุมหรือขอบเขตพื้นที่ให้บริการของเครือข่าย ไม่ได้บ่งชี้ว่าสถานที่ที่คุณวางแผนจะเดินทางไปนั้นมีสัญญาณหรืออับสัญญาณ ทว่า เป็นการวัดช่วงเวลาที่ผู้คนทำการเชื่อมต่อกับเครือข่ายในสถานที่ที่พวกเขาเดินทางไปบ่อย ๆ รวมถึงวัดสิ่งที่การวัดค่าแบบเดิมไม่สามารถวัดได้ โดยดูช่วงเวลาที่ผู้ใช้ทำการเชื่อมต่อมากกว่าสถานที่ และให้ข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การใช้งานจริงของผู้ใช้ได้อย่างแม่นยำ
นอกจากนี้ ยังมีการติดตามกลุ่มตัวอย่างที่ทำให้ผู้ใช้งานมือถือเกิดความหงุดหงิดรำคาญใจ ได้แก่ เมื่อไม่พบสัญญาณที่จะต้องทำการเชื่อมต่อ และพื้นที่อับสัญญาณที่ผู้ใช้มักประสบปัญหานั้นก็คือ พื้นที่ภายในอาคาร ซึ่งความพร้อมใช้งานข้อมูลที่สูงที่สุดนั้นก็อยู่ภายในอาคารเช่นเดียวกัน (เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ผู้ใช้ใช้เวลาอยู่มากที่สุดเป็นปกติ) และเราก็เป็นผู้เชี่ยวชาญในการค้นหาพื้นที่อับสัญญาณ
ตัววัดความพร้อมใช้งานของเราใช้แนวทางที่เน้นผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลางและอิงตามเวลา ซึ่งส่งเสริมวิธีการใช้ตัวชี้วัดการเข้าถึงที่ยึดผู้ใช้งานเป็นศูนย์กลางพร้อมอิงข้อมูลตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์
ความพร้อมใช้งาน 5G จะแสดงให้เห็นถึงสัดส่วนช่วงเวลาที่ผู้ใช้ Opensignal ใช้งานอุปกรณ์ 5G และการเป็นสมาชิกใช้งาน 5G ที่มีการเชื่อมต่อ 5G
การเข้าถึง 5G จะวัดประสบการณ์ผู้ใช้งาน 5G ในขอบเขตพื้นที่เครือข่ายของผู้ให้บริการ โดยวิเคราะห์สัดส่วนค่าเฉลี่ยของพื้นที่ทั้งหมดที่ผู้ใช้งานเชื่อมต่อกับเครือข่าย 5G กล่าวคือ การเข้าถึง 5G จะวัดประสบการณ์การใช้มือถือ 5G ในทุกพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของผู้ใช้งาน — เช่น ที่พักอาศัย ที่ทำงานและการเดินทางทุกแห่ง ค่าวัดการเข้าถึง 5G ของผู้ให้บริการแต่ละรายมีตั้งแต่ 0-10
แผนที่แสดงความครอบคลุมแสดงตำแหน่งพื้นที่ที่เราได้รับข้อมูลการวัดค่าจากผู้ใช้งานที่มีการเชื่อมต่อกับ 3G หรือบริการมือถือด้านอื่นๆที่ดีกว่า แต่ละแผนที่จะระบุพื้นที่ที่สามารถรับบริการมือถือจากผู้ให้บริการนั้น ๆ ได้
AIS เคยเป็นเครือข่ายที่สามารถรับชมวิดีโอคุณภาพระดับ HD การประชุมทางวิดีโอแบบกลุ่มและการเล่นเกมตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำจากการทดสอบของผู้ใช้จำนวน 60.9% ซึ่งถือเป็นผลลัพธ์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย ส่งผลให้ AIS ได้ครองตำแหน่งผู้นำสูงสุดในด้านคุณภาพความเสถียรยอดเยี่ยม นำหน้า TrueMove H อันดับที่สองอยู่ 5.3% และนำหน้า DTAC อยู่ 7.5%.
แม้ DTAC เป็นอันดับสุดท้ายในด้านคุณภาพความเสถียรดีเยี่ยม แต่ในหมวดหมู่คุณภาพความเสถียรหลักนั้นกลับคว้ารางวัลในรายงานฉบับนี้ไปได้ด้วยคะแนนถึง 86.5% หมายความว่าเครือข่ายของ DTAC นั้นตรงตามเกณฑ์ขั้นต่ำที่แนะนำสำหรับใช้งานแอปพลิเคชันที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่า ประกอบด้วย วิดีโอคุณภาพระดับ SD การโทรแบบเสียงและการท่องเว็บ โดยวัดจากเปอร์เซ็นต์การทดสอบของผู้ใช้งานคิดเป็น 86.5% DTAC มีคะแนนนำหน้า TrueMove H ที่่ตามหลังมาอยู่ 2.1 คะแนนและนำ AIS อันดับ่สามอยู่ 5.1 คะแนน.
คุณภาพความเสถียรจะวัดว่าผู้ใช้งานในเครือข่ายนั้นๆ ได้รับประสบการณ์ตามข้อกำหนดทั่วไปของการใช้งานแอปพลิเคชันได้อย่างเพียงพอมากน้อยเพียงใด โดยจะวัดความเร็วในการดาวน์โหลด ความเร็วในการอัปโหลด เวลาแฝงของเครือข่าย ค่าแปรผันของเวลา การสูญเสียแพ็กเก็ตข้อมูล เวลาในการส่งข้อมูลในไบต์แรกและเปอร์เซ็นต์ของการพยายามเชื่อมต่อซึ่งไม่สำเร็จอันเกิดจากปัญหาในส่วนของการดาวน์โหลดหรือการตอบรับของเซิร์ฟเวอร์
ตัววัดคุณภาพความเสถียร — คุณภาพความเสถียรขั้นสูงและคุณภาพความเสถียรหลักนี้คำนวณโดยใช้ข้อมูลและวิธีการจากบริษัทในเครือ Tutela ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่.
คุณภาพความเสถียรขั้นสูงคือเปอร์เซ็นต์การทดสอบจากผู้ใช้ในการรับชมวิดีโอความละเอียดระดับ HD การประชุมทางวิดีโอแบบกลุ่มและการเล่นเกมที่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ประสิทธิภาพการทำงานขั้นต่ำที่แนะนำ
คุณภาพความเสถียรจะวัดว่าผู้ใช้งานในเครือข่ายนั้นๆ ได้รับประสบการณ์ตามข้อกำหนดทั่วไปของการใช้งานแอปพลิเคชันได้อย่างเพียงพอมากน้อยเพียงใด โดยจะวัดความเร็วในการดาวน์โหลด ความเร็วในการอัปโหลด เวลาแฝงของเครือข่าย ค่าแปรผันของเวลา การสูญเสียแพ็กเก็ตข้อมูล เวลาในการส่งข้อมูลในไบต์แรกและเปอร์เซ็นต์ของการพยายามเชื่อมต่อซึ่งไม่สำเร็จอันเกิดจากปัญหาในส่วนของการดาวน์โหลดหรือการตอบรับของเซิร์ฟเวอร์
ตัววัดคุณภาพความเสถียร — คุณภาพความเสถียรขั้นสูงและคุณภาพความเสถียรหลักนี้คำนวณโดยใช้ข้อมูลและวิธีการจากบริษัทในเครือ Tutela ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่.
คุณภาพความเสถียรหลักคือเปอร์เซ็นต์การทดสอบจากผู้ใช้ในการใช้งานซึ่งรวมถึงวิดีโอความละเอียดระดับ SD การโทรด้วยเสียงและการท่องเว็บที่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ประสิทธิภาพการทำงานขั้นต่ำที่แนะนำสำหรับแอปพลิเคชันที่มีประสิทธิภาพต่ำกว่า
เก็บรวมรวมข้อมูลเพื่อนำมาวัดค่ากว่าพันล้านครั้งต่อวัน จากอุปกรณ์กว่า 100 ล้านเครื่องทั่วโลก Opensignal วิเคราะห์ประสบการณ์ของผู้ใช้มือถืออย่างอิสระจากผู้ให้บริการเครือข่ายรายใหญ่ทุกแห่งทั่วโลก
Opensignal เป็นบริษัทผู้ดำเนินการวิเคราะห์ระบบมือถือที่มุ่งมั่นพัฒนาการเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือทั่วโลก เราบริหารงานอย่างอิสระเพื่อทำความเข้าประสบการณ์จริงที่ผู็ใช้ได้รับบนเครือข่ายไร้สาย
สื่อมวลชนโปรดอ้างอิงโลโก้ Opensignal และลิขสิทธิ์
(© Opensignal Limited) ข้อมูลเมื่อใช้ภาพนี้
ห้ามใช้ภาพนี้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าใด ๆ รวมถึงใช้ในการโฆษณาหรือเนื้อหาส่งเสริมการขายอื่น ๆ โดยไม่ได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า
สำหรับตัวชี้วัดทุกตัว เราคำนวณช่วงความเชื่อมั่นทางสถิติที่ระบุไว้บนกราฟ เมื่อช่วงความเชื่อมั่นซ้อนทับกันผลลัพธ์จะใกล้เคียงกันเกินกว่าจะวัดผลว่าใครเป็นผู้ชนะ ในกรณีดังกล่าวนี้ เราจะแสดงผลเป็นเชิงสถิติ ด้วยเหตุนี้ตัวชี้วัดบางประเภทจึงมีผู้ชนะหลายราย
กราฟแท่งจะแสดงช่วงความเชื่อมั่นเป็นขอบเขตที่ด้านใดด้านหนึ่งของแท่งกราฟ
ส่วนแผนภูมิตัวชี้วัดเสริมจะแสดงค่าบนช่วงความเชื่อมั่นเป็นตัวเลขบวกและลบ
ทำไมช่วงความเชื่อมั่นถึงสำคัญอย่างยิ่งต่อการวิเคราะห์ประสบการณ์เครือข่ายมือถือ